บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

“กลาก” โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นบ่อย

Content 1_Eu2000-01

ถ้าพูดถึงโรคผิวหนัง กลาก และเกลื้อน เป็นโรคที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งวันนี้เรามาทำความรู้จัก อาการคันจากกลาก ซึ่งเป็นการติดเชื้อราของผิวหนังที่พบเจอกันอยู่บ่อยครั้ง เพราะโรคกลากนั้นสามารถติดต่อจากผู้อื่นได้ และสามารถเป็นได้ทั้งคน และสัตว์ ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักโรคกลากกัน พร้อมกับวิธีรักษาอย่างถูกวิธี

อาการของโรคกลาก

  • กลากบริเวณหนังศีรษะ: อาการโดยทั่วไป หนังศีรษะจะตกสะเก็ด เป็นจุดเล็กๆ เมื่อสัมผัสจะเกิดอาการเจ็บ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ และคันหนังศีรษะ ถ้าหากมีอาการรุนแรง อาจจะมีตุ่มหนองเล็กๆ หรืออาจทำให้เกิดเป็นแผลพุพองขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ชันนะตุ” ได้
  • กลากบริเวณผิวหนังทั่วไป: มักทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคืองรอบๆ แผล ลักษณะเป็นวงสีแดงชัดเจน หากอาการมีความรุนแรงแผลจะขยายใหญ่ขึ้น มีรอยนูน มีอาการคันใต้ผิวหนัง และอาจมีตุ่มพองหรือตุ่มหนองเกิดขึ้นรอบวง
  • กลากที่เท้า: การติดเชื้อราที่เท้าอาจทำให้เกิดอาการแห้ง คัน มีผื่นแดงเป็นแผ่นบริเวณง่ามนิ้ว หากอาการมีความรุนแรง ผิวหนังจะแตกแห้ง เป็นตุ่มพอง เป็นขุยสะเก็ด ผิวหนังบวม มีอาการแสบและคันบริเวณผิวหนัง
  • กลากบริเวณขาหนีบ: แผลมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลแดง เกิดตุ่มพอง หรือเป็นตุ่มหนองรอบๆ วงกลาก หรือผิวหนังเป็นแผ่นตกสะเก็ด รอบบริเวณขาหนีบ
  • กลากบริเวณใบหน้าและลำคอ: อาการไม่เหมือน กลากทั่วไป แต่เกิดเป็นอาการคัน บวม และแห้งจนเป็นสะเก็ด
  • กลากที่มือ: จะมีอาการคันที่ฝ่ามือ และง่ามนิ้ว และมีผื่นแดงหนาขึ้น
  • กลากที่เล็บ: กลากที่เล็บจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง และเจ็บบริเวณรอบๆ แผล โดยเล็บมือที่ติดเชื้อรานี้จะดูขาว ขุ่นทึบ หนา และหักง่าย แต่หากเกิดขึ้นที่เล็บเท้าอาจจะมีสีออกเหลือง หนา และแตกหักง่าย

สาเหตุการเกิดโรคกลาก

  • ขาดการดูแลรักษาความสะอาด
    การทำความสะอาดร่างกาย และจุดซ่อนเร้นไม่สะอาดพอ รวมถึงปล่อยให้อับชื้น หรือ ไม่อาบน้ำหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากออกกำลังกาย เป็นต้น
  • ลักษณะของร่างกายที่เอื้อต่อการเกิดเชื้อรา
    เช่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก อาจเสี่ยงต่อความอับชื้นใต้ร่มผ้าได้ 
  • ใส่เสื้อผ้าแน่นรัด และมีความอับชื้น
    การสวมใส่เสื้อผ้าอับชื้น นอกจากจะส่งกลิ่นที่ทำให้หมดความมั่นใจแล้ว เมื่อความอับชื้นผสมกับเหงื่อบนร่างกายของเรา อาจจะทำให้เกิดโรคเชื้อราตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
  • สัมผัสกับเชื้อรา
    การเดินเท้าเปล่าบนพื้นที่เปียกและสกปรกหรือในห้องน้ำสาธารณะ การใช้ของร่วมกับผู้อื่น และการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อรา เป็นต้น

ทำยังไงให้เชื้อราในร่มผ้าหายขาด?

  • สังเกตตัวเอง
    สังเกตตัวเองว่า การใช้ชีวิตประจำวัน มีพฤติกรรมไหนเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในร่มผ้าได้บ้าง รวมถึงปัจจัยไหนที่ทำให้เกิดอาการ อย่างเช่น การใส่เสื้อซ้ำ หรือหลังจากออกกำลังกายไม่รีบอาบน้ำ ทำให้เกิดการหมักหมม เป็นต้น เมื่อรู้แล้วว่าสิ่งไหนเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราในร่มผ้า ควรหลีกเลี่ยงทันที รวมถึงการรักษาความสะอาด ไม่ปล่อยให้ร่างกาย หรือจุดซ่อนเร้นอับชื้น
  • ใช้ยาฆ่าเชื้อ
    ใช้ยาฆ่าเชื้อรา ที่มีตัวยาสำคัญ Terbinafine (เทอบินาฟีน) ที่สามารถกำจัดเชื้อรา และกลากโดยจำเพาะ ควรทายาติดต่อกันตามแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ เพื่อให้รอยโรคหายสนิทและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ตัวอย่างวิธีการใช้ คือ การทา ยู 2000  ซึ่งมีลักษณะเป็นเนื้อครีม ใช้ง่าย และสามารถฆ่าเชื้อราได้เร็ว
เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
ยู2000 (EU2000)

มีตัวยาสำคัญ Terbinafine ใช้สำหรับรักษาโรคเชื้อรา กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุต สังคัง และเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการคันในร่มผ้าหรือข้อพับ ทายาบริเวณที่มีอาการ วันละ 1-2 ครั้ง ระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและอาการ

* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์

  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองผิว
    พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็นภูมิแพ้บริเวณผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย เพราะผิวหนังอ่อนแอกว่าผู้อื่น นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่จะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง

การที่ทำให้เราห่างไกลโรคเชื้อราในร่มผ้า เพียงแค่คุณใส่ใจในความสะอาดมากขึ้น ปรับพฤติกรรมที่เสี่ยง เปลี่ยนสุขลักษณะใหม่ รักษาความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ให้อับชื้น ร่วมถึงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ด้วยการซักให้สะอาด และตากแดด เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการคันจากเชื้อรา และโรคนี้ก็ไม่กล้าเข้ามาหาเราได้อีกแน่นอน

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด