ใครจะเชื่อว่าประเทศไทย มีคนท้องเสีย พอๆ กับเป็นหวัด แน่นอนว่าอากาศประเทศไทย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก ทำให้เราพบเจอโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารอยู่บ่อยๆ อย่าง อาการท้องเสีย รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนไทย ที่ชอบกินอาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ ซึ่งอาจเป็นที่มาของการรับเชื้อแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนมากับอาหาร และน้ำดื่ม เป็นเหตุให้เราถ่ายอุจจาระอยู่บ่อยๆ
สาเหตุของการเกิดท้องเสีย
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- แบบเฉียบพลัน จะพบมาก และยังเกิดขึ้นบ่อย และเกิดเร็ว
- เกิดจากการติดเชื้อโรค แบคทีเรีย
- สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร และเครื่องดื่ม
- พืชที่เป็นพิษ อย่าง เห็ดพิษ เป็นต้น
- สารเคมีต่างๆ อย่าง ตะกั่ว สารหนู เป็นต้น
- แบบเรื้อรัง เป็นภาวะที่ผู้ป่วยถ่ายเกิน 7 วัน โดยมีสาเหตุดังนี้
- ภาวะเครียด
- ติดเชื้อ เช่น บิดอะมีบา
- ผู้ป่วยมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน เป็นต้น
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมของลำไส้
- อื่นๆ เช่น หลังจากผ่าตัด

อาการท้องเสีย
ผู้ป่วยจะมีการถ่ายอุจจาระเหลว มากกว่า 3 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายมีมูกเลือด เพียงครั้งเดียว หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง

เมื่อเกิดอาการท้องเสีย ควรทำอย่างไร?
- งดรับประทานอาหารแข็ง อาหารรสจัด อาหารที่ย่อยยาก อาหารที่มีกากใยอาหารมาก รวมถึง อาหารที่มีไขมัน ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เน้นเป็นอาหารเหลว
- ผู้ป่วยควรระวังภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ที่อาจจะตามมา ดังนั้นควรดื่มน้ำเกลือแร่ โดยผสมกับน้ำต้มสุก แล้วชงดื่ม
- รับประทานยาแก้ท้องเสีย ซึ่งยาแก้ท้องเสียมีอยู่หลายประเภท สามารถใช้ได้ตามอาการ ดังต่อไปนี้
- ยาปฏิชีวนะ : ตัวยา Nifuroxazide สามารถยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคท้องเสีย แต่ยาอาจทำลายเชื้อท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ ทำให้เกิดอาการตกขาว ท้องเสียเรื้อรัง เป็นต้น
- ยาหยุดถ่าย: ออกฤทธิ์โดยลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ลดจำนวนการถ่าย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียในร่างกายอาจไม่ถูกกำจัดออกไปหมด และอาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
- ยากลุ่ม Probiotic: ช่วยสร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้มีเกราะป้องกัน ลดโอกาสการเกิดโรคท้องเสียเรื้อรัง
- สารดูดซับหรือผงถ่าน: สามารถดูดซับหรืออุ้มของเหลวได้ดี สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ มีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะลำไส้อุดตัน หรือท้องผูกเรื้อรังมาก่อ
หมายเหตุ : ไม่ควรซื้อยาหยุดถ่ายมารับประทานเอง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรอย่างใกล้ชิด

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
เออร์ฟูไซด์ (Erfuzide)
ตัวยา Nifuroxazide มีทั้งแบบยาน้ำแขวนตะกอน และแคปซูล (ห้ามใช้ในผู้แพ้ยานี้)

การป้องกันที่ดีที่สุด
- การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากตัวเชื้อโรคจะถูกทำลายด้วยความร้อน
- ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ไม่มีแมลงวันตอม
- ไม่ควรรับประทานอาหารกล่องที่ปรุงไว้นานแล้ว
** หลัง 3 วันแล้ว หากอาการท้องเสียไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง เวียนศีรษะ มีเลือดปนในอุจจาระ หรือ มีเลือดปนในอาเจียน ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้อาการท้องเสียนั้นหายไปเอง
ดังนั้น เรามียาลดไข้ติดบ้านไว้ และเราก็ควรมียาแก้ท้องเสียเฉียบพลัน ติดบ้านไว้เช่นกัน เพื่อเป็นผลดีต่อคนในครอบครัว อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเสมอก่อนการใช้ยาควรอ่านฉลากยาหรือเอกสารกำกับยาให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ควรวินิจฉัยเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกร