อาการคันตามผิวหนัง เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และสร้างความรำคาญอย่างยิ่งในการใช้ชีวิต แถมยังทำให้เสียบุคลิกภาพ หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการคันนั้นก็คือ การติดเชื้อรา ดังนั้นวันนี้เราได้รวบรวมอาการติดเชื้อราในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการรักษา และวิธีป้องกันมาฝาก
การติดเชื้อราชนิดต่างๆ
การติดเชื้อราบนผิวหนังเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาจพบได้หลากหลายรูปแบบ แต่อาการที่มักพบบ่อย ได้แก่ กลาก เกลื้อน เชื้อราที่เท้า และการติดเชื้อแคนดิดา
กลาก เป็นโรคเชื้อราที่พบบ่อย มีลักษณะเป็นวง และอาจมีอาการอักเสบคล้ายผื่นแดง พบได้ตามผิวหนังบริเวณ ศีรษะ ใบหน้า มือ เท้า และขาหนีบ
- เกลื้อน เกลื้อนพบได้บ่อยในวัยรุ่นหรือวัยทำงาน มีลักษณะเป็นดวงๆ สีแดง ชมพู หรือน้ำตาล พบได้ตามผิวหนังบริเวณแขนส่วนบน หน้าอก และหลัง
- เชื้อราที่เท้า เชื้อราที่เท้า หรือน้ำกัดเท้า จะมีอาการคัน เกิดผื่นแดง และอาจมีแผล หรือตุ่มน้ำเกิดร่วมด้วย มักเกิดจากการเดินลุยน้ำและสวมใส่รองเท้าที่ชื้นแฉะ หรือการเดินลุยน้ำท่วมแล้วไม่ทำความสะอาดและทำให้ร่างกายแห้งโดยเร็ว
- การติดเชื้อแคนดิดา มักมีลักษณะเป็นผื่นแดงคัน คล้ายตุ่มสิว พบได้ในบริเวณซอกพับของร่างกาย เช่น ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ ใต้ราวนม โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

เชื้อราที่ผิวหนังรักษาอย่างไร?
โรคเชื้อราที่ผิวหนังสามารถรักษาโดยการใช้ ยารักษาเชื้อรา ซึ่งทำให้เชื้อราที่ผิวหนังหมดไป ตัวอย่างวิธีใช้ คือ ทาซีม่าครีม บริเวณผิวที่มีเชื้อราวันละ 2-3 ครั้ง ควรทายาติดต่อกันตามแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ เพื่อให้รอยโรคหายสนิทและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
ซีม่าครีม (Zema Cream)
มีตัวยาสำคัญ Clotrimazole ใช้สำหรับรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น สังคัง คันในร่มผ้า กลาก เกลื้อน และ น้ำกัดเท้า ทายาวันละ 2-3 ครั้ง ระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและอาการ
สำหรับโรคสังคัง สามารถใช้ซีม่าโลชั่น (Zema Lotion) ได้เช่นกัน โดยใช้สำลีสะอาดชุบยา ทาบางๆ เบาๆ วันละ 1 ครั้ง ไม่ควรถู แกะและเกา
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้
- หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น กรรไกรตัดเล็บ หวี เสื้อผ้า ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน
- สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เช่นผ้าฝ้าย หรือเลือกชุดที่โปร่ง โล่ง ใส่สบาย
- ไม่ควรใส่เสื้อผ้าซ้ำ โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เสื้อออกกำลังกาย และชุดชั้นใน
- รักษาสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน อาบน้ำ ล้างหน้า ทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำหมั่นซักเสื้อผ้า ให้สะอาด ตากแดดให้แห้งสนิท
- ต้องล้างมือและซอกเล็บให้สะอาด หลังสัมผัสจุดติดเชื้อ และพยายามไม่ถู แกะหรือเกา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจาย
อาการคันจากเชื้อรา รักษาไม่ยาก แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ยิ่งปล่อยไว้นานจนเชื้อโรคลุกลาม อาจจะเกิดความยุ่งยากในการรักษา ดังนั้น เมื่อมีอาการ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรขาดคือ การรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอไม่ปล่อยให้ร่างกายอับชื้นโดยเฉพาะจากเสื้อผ้า ถุงเท้าและรองเท้า ให้หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าเชื้อรามาถามหา!