แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หากเราเป็นแผลเล็กๆ น้อยๆ ไม่รุนแรงมาก เราต้องรู้วิธีการดูแลรักษา และการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยแผลไว้ด้วยความชะล่าใจ คิดว่า แผลเล็กๆ น้อยๆ ปล่อยไว้เดี๋ยวก็หาย ซึ่งที่จริงแล้วแผลอาจเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย โดยบทความนี้จะแชร์ความรู้เบื้องต้นในการปฐมพยาบาล และดูแลป้องกันแผลอย่างไรไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นกันค่ะ
ก่อนจะรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เราต้องแยกระดับความรุนแรง ลักษณะอาการของแผลไฟไหม้ให้ได้ก่อน ซึ่งจะทำให้เราปฐมพยาบาลได้ตรงจุด และถูกวิธีมากขึ้น
ระดับความรุนแรงของ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ระดับที่หนึ่ง – เป็นการไหม้บริเวณผิวหนังชั้นนอก
ระดับที่สอง – เป็นการไหม้ผิวหนังชั้นหนังแท้
ระดับที่สาม – เป็นการไหม้ลึกถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังทั้งหมด อาจรวมถึงกล้ามเนื้อ และกระดูก
สัญญาณของอาการ ของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อาการของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ในระดับที่ 1 มีดังนี้
- มีรอยแดง แต่ไม่มีตุ่มพอง
- มีอาการบวมเล็กน้อย
- มีความรู้สึกเจ็บปวด หรือแสบร้อน
อาการของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ในระดับที่ 2 มีดังนี้
- แผลมีสีแดงจัด
- มีตุ่มพองใส
- เมื่อลอกเอาตุ่มพองออก มีน้ำเหลืองซึมออกมา
- รู้สึกแสบร้อน หรือเจ็บปวดมาก
อาการของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ในระดับที่ 3 มีดังนี้
- ผิวหนังไหม้เกรียม หรือขาว ซีด เหลือง น้ำตาลไหม้ หรือดำ
- ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
วิธีรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยตัวเอง
วิธีรักษาแผลด้วยตัวเองนั้น เหมาะสำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกระดับ 1 และ 2 เท่านั้น โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
- ทำแผลให้เย็นลง โดยการเปิดน้ำก๊อกที่ไม่รู้สึกร้อนไหลผ่านแผล อย่างน้อย 10-20 นาที หากมีตุ่มน้ำพอง ระมัดระวังอย่าทำให้แตก กรณีแผลไหม้จากแสงแดดให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป
- ทำความสะอาดแผล ให้ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียอ่อน ๆ ไม่ควรถูแรงๆ
- ใช้ยาทาภายนอก ควรทายาชนิดขี้ผึ้ง (Ointment) ที่สามารถใช้สำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ เพื่อไม่ให้แผลติดเชื้อ สมานได้เร็วขึ้น และลดโอกาสการเกิดแผลเป็น อย่างเช่น ยาแบคเท็กซ์ (Bactex) ชนิดออยท์เมนท์

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
แบคเท็กซ์ (Bactex)
ตัวยา Mupirocin ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เหมาะสำหรับรักษาแผลสด แผลมีดบาด แผลติดเชื้อ แผลมีหนอง แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก
แบคเท็กซ์ (Bactex) มีตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดการเกิดแผลแตกแห้งเป็นสะเก็ด สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
- กินยาแก้ปวด แม้เป็นแผลขนาดเล็ก ก็สามารถทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดได้ ดังนั้น ต้องใช้ยา เพื่อลดอาการเจ็บปวด และบวม
- หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ช่วยปกปิดแผลจากแสงแดดได้
วิธีรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยตัวเอง
วิธีรักษาแผลด้วยตัวเองนั้น เหมาะสำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกระดับ 1 และ 2 เท่านั้น โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
- ทำแผลให้เย็นลง โดยการเปิดน้ำก๊อกที่ไม่รู้สึกร้อนไหลผ่านแผล อย่างน้อย 10-20 นาที หากมีตุ่มน้ำพอง ระมัดระวังอย่าทำให้แตก กรณีแผลไหม้จากแสงแดดให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป
- ทำความสะอาดแผล ให้ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียอ่อน ๆ ไม่ควรถูแรงๆ
- ใช้ยาทาภายนอก ควรทายาชนิดขี้ผึ้ง (Ointment) ที่สามารถใช้สำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ เพื่อไม่ให้แผลติดเชื้อ สมานได้เร็วขึ้น และลดโอกาสการเกิดแผลเป็น อย่างเช่น ยาแบคเท็กซ์ (Bactex) ชนิดออยท์เมนท์