บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

ท้องเสีย! โรคฮิตในเด็ก พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร?

Website Content I May, 21_2-01

อากาศร้อนกับประเทศไทยเป็นของคู่กัน เพราะทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ทำให้เชื้อโรคแบคทีเรีย แพร่กระจายได้อย่างเร็ว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคที่คนไทยคุ้นเคยกันดี อย่าง โรคท้องเสียซึ่งสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคท้องเสียในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น เชื้อปรสิต อาหารเป็นพิษจากสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนในอาหาร หรือสารพิษที่สร้างขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ ยังรวมถึงพฤติกรรมของเด็ก ที่ชอบหยิบจับสิ่งของต่างๆ เข้าปาก ทำให้เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เข้าสู่ร่างกายได้ พร้อมไปไขข้อสงสัยพร้อมกันกับเราแล้วหรือยังถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย!

จากรายงานของกองระบาดวิทยา รายงานว่า ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้ป่วยอุจจาระร่วง จำนวน 65,445 ราย พบมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ในเด็ก แรกเกิด-4 ปี  รองลงมา อายุ 65 ปีขึ้นไป และอายุ 15-24 ปี ตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ มีจำนวนทั้งสิ้น 8,166 ราย พบมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อายุ 15-24 ปี รองลงมา อายุ 25-34 ปี และแรกเกิด-4 ปี ตามลำดับ จากรายงานสะท้อนให้เห็นว่า เด็กมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น “โรคท้องเสีย” ซึ่งพ่อแม่ควรดูแล และปลูกฝังเรื่องสุขอนามัยอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กเป็นวัยกำลังเรียนรู้ และมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อของร่างกายยังไม่สมบูรณ์

ท้องเสีย

โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) นิยามอาการท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง ไว้ว่า อาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน ถ่ายมีมูกเลือดปน คอแห้งหิวน้ำบ่อย หน้ามืด อ่อนเพลีย โดยปกติเป็นอาการของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารซึ่งอาจเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตหลายชนิด โดยการติดเชื้อแพร่กระจายผ่านอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อน หรือจากคนสู่คนอันเป็นผลมาจากการไม่มีสุขอนามัยที่ดี ซึ่งอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่การสูญเสียของเหลวในร่างกาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อของร่างกายยังไม่สมบูรณ์

ประเภท....ของอาการท้องเสีย

การจำแนกอาการท้องเสีย ตามองค์กรอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวไว้ว่า โรคท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • อาการท้องร่วงเฉียบพลัน: มีอาการถ่ายเหลวในปริมาณมาก และมีอาการต่อเนื่องนานหลายชั่วโมง หรือหลายวัน
  • อาการท้องเสียเฉียบพลันเป็นเลือด: ถ่ายมีมูกเลือดปน และปวดท้องแบบเบ่ง ร่วมด้วย
  • อาการท้องเสียถาวร: มีอาการท้องเสียกินเวลา 14 วันหรือนานกว่านั้น

อาการอื่นๆ ที่พบร่วมกับอาการท้องเสียในเด็ก

  • อาการไข้ ปวดหัว อาเจียน
  • ถ้าเกิดจากติดเชื้อไวรัสจะถ่ายเป็นน้ำและเหลว
  • มีอาการไอหรือมีน้ำมูกร่วมด้วย

เมื่อลูกท้องเสีย….รักษาอย่างไร

  • ในกรณีเลี้ยงลูกด้วยนม แนะนำให้ลูกกินนมแม่ให้มากขึ้น ซึ่งในน้ำนมมีจุลินทรีย์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส (แอลจีจี หรือ แอลพีอาร์) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ในกรณีไม่เลี้ยงลูกด้วยนม ให้กินนมผสม สลับดื่มน้ำผสมเกลือแร่ สำหรับเด็กผู้ปกครองควรละลายผงเกลือแร่ในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว แล้วใช้ช้อนค่อยๆ ตักป้อนให้เด็กกิน เพื่อทดแทนของเหลวในร่างกายที่สูญเสียไป
  • กินยาปฏิชีวนะ ที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ มีตัวยาสำคัญ Nifuroxazide สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการท้องเสีย จะช่วยลดการถ่ายเหลวและทำให้อาการปวดท้องดีขึ้นช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ และลดอาการอ่อนเพลีย เพื่อให้เด็กรับประทานยาได้ง่ายขึ้น ควรเป็นชนิดน้ำแขวนตะกอนหรือยาน้ำเชื่อม ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือเภสัชกร
  • ให้เด็กงดอาหารที่ย่อยยาก หรือมีไขมันสูง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป

ป้องกัน อาการท้องเสียอย่างไร

  • การมีสุขอนามัยพื้นฐานที่ดี ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ แนะนำโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้แก่ การดูแลตัวเองให้สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารสุก สะอาด เป็นต้น
  • การเลี้ยงลูกด้วยนมในช่วงหกเดือนแรกของชีวิต เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ลูก รวมถึงภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ
  • การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส เชื้อแบคทีเรีย

ปรับพฤติกรรมลูก เพื่อป้องกันอาการท้องเสีย

สอนให้ลูกรักษาสุขอนามัย โดยการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาด และย่อยง่าย สำหรับเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พ่อแม่ควรช่วยล้างมือลูกให้สะอาด และทำความสะอาดของเล่นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงระวังไม่ให้ลูกหยิบของเล่น หรือสิ่งแปลงปลอมเข้าปาก เพื่อป้องกันเชื้อโรคแบคทีเรีย อีกหนึ่งต้นเหตุของอาการท้องเสีย

ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย นั้นก็คือ อาหารไม่สุก ไม่สะอาด รวมถึงพฤติกรรมการไม่ล้างมือ ชอบอมนิ้ว การหยิบของเล่นเข้าปาก ทานของที่ตกลงลงพื้น ดื่มน้ำไม่สะอาด ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เราต้องยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกมารณรงค์ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดอาการ ท้องเสียและคุณพ่อคุณแม่สงสัยเกี่ยวกับอาการของลูก สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกรได้

อ้างอิงจาก

  1. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, (2564). จาก https://www.pidst.or.th/A603.html
  2. กรมอนามัยโลก. (WHO) จาก https://www.who.int/topics/diarrhoea/en/
  3. กรมอนามัยโลก. (WHO) จาก https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diarrhoeal-disease
  4. แนวปฏิบัติการรักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน. จาก www.thaipediatrics.org/cpg_file/1.doc
  5. กองโรคติดต่อทั่วไป/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค, (2564). จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด