
ท้องผูก
ท้องผูก เป็นอาการที่ขับถ่ายยาก ลำบาก ลักษณะอุจจาระแข็ง ต้องใช้แรงในการเบ่งมาก หรือ ขับถ่าย นานๆ ครั้ง ท้องผูกเป็นปัญหาที่ค่อนข้างพบบ่อยอย่างมาก สาเหตุหลักที่พบบ่อย คือ การไม่รับประทานผัก ผลไม้ ทำให้ขาดกากใยอาหาร เพราะกากใยอาหารช่วยให้อุจจาระไม่เหนียวแข็งและถ่ายได้โดยง่าย อาการท้องผูกอาจเกิดจากการที่ร่างกายต้อง ปรับเปลี่ยนระบบขับถ่าย เช่น ช่วงระหว่างการเดินทาง ความเครียด การตั้งครรภ์ ช่วงมีรอบเดือน เป็นต้น วัยสูงอายุก็อาจมีส่วนให้การขับถ่ายแปรปรวนได้เช่นกันเนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
การป้องกันท้องผูก
อาการท้องผูกป้องกันได้ไม่ยาก เพียงปรับรูปแบบการรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือธัญพืช ดื่มน้ำให้เพียงพอ ขับถ่ายตรงเวลา นั่งห้องน้ำเวลาเดิมทุกวัน ไม่ควรกลั้นอุจจาระเมื่อร่างกายต้องการจะถ่าย ไม่ใช้ยาถ่ายพร่ำเพรื่อ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
พบแพทย์เมื่อ?
- เมื่อมีอาการท้องผูกมากกว่า 1-2 สัปดาห์ ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน แม้จะปรับเปลี่ยนอาหารแล้วก็ตาม
- อุจจาระมีเลือดปน
- ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- มีอาการปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย
- มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย
- มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักลดลง

ท้องเสีย
การป้องกันท้องเสีย
เมื่อเกิดอาการท้องเสียสิ่งแรกที่ควรทำคือ ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ เพื่อบรรเทาอาการท้องเสียเมื่อมีอาการขาดน้ำ หรือรับประทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการท้องเสีย ทั้งควรหลีกเลี่ยง การดื่มนม ชา กาแฟ งดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารทะเล อีกสิ่งที่ควรคำนึงอยู่เสมอคือ ความสะอาด และปรุงสุก ที่จะทำให้ห่างไกลจากอาการท้องเสีย ซึ่งควรล้างมือเป็นประจำก่อนและหลังรับประทานอาหาร ระวังอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษเมื่อเดินทาง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ของดอง และอาหารที่ปรุงสำเร็จวางขายไว้ตลอดวัน
หากมีอาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน หรือเป็นอาการท้องเสียในช่วงเริ่มต้น สามารถทานยาฆ่าเชื้อเช่น Erfuzide (เออร์ฟูไซด์) เพื่อช่วยลดการถ่ายเหลว ทำให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
เออร์ฟูไซด์ (Erfuzide)
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของการท้องเสีย มีทั้งแบบน้ำแขวนตะกอนและแบบแคปซูล (ห้ามใช้ในผู้แพ้ยากลุ่ม Nifuroxazide)
พบแพทย์เมื่อ?
- คลื่นไส้อาเจียนรุนแรงหลายครั้ง
- ปวดท้องมาก อ่อนเพลีย
- อุจจาระมีมูกปน ลักษณะเป็นน้ำซาวข้าวหรือเป็นฟอง
- มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
- ร่างกายขาดน้ำ กระหายน้ำ ปากแห้ง หน้ามืด
- ถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด
- เมื่ออาการท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง
เมื่อมีอาการขับถ่ายผิดปกติ อย่าละเลย ควรรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์เฉพาะทางโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะทำให้เกิดอาการอื่นตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคริดสีดวงทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือโรคร้ายแรงอื่นที่ซ่อนไว้และร่างกายพยายามแสดงออกทางการขับถ่ายนั่นเอง