โรคอุจจาระร่วง ที่คุ้นชิน แต่กลายเป็นปัญหาใกล้ตัวของทุกวัย จนบางครั้งเราอาจมองเป็นเรื่องธรรมดา และอาจเผลอมองข้ามไปได้ เอ๊ะ! ท้องเสียอีกแล้วเดี๋ยวก็คงหายเหมือนครั้งก่อนๆ แต่คุณเองก็ไม่อาจโชคดีทุกครั้งเสมอไป หากติดเชื้อรุนแรงขึ้นมาก็กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในทันที ดังนั้นควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ วันนี้เราจึงมีวิธีป้องกัน และรักษาอย่างถูกวิธีมาฝาก ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันเลย
ทำความรู้จักโรคอุจจาระร่วง
โรคอุจจาระร่วง คือภาวะที่ส่งผลให้การถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 วัน หรือมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด โดยโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต โปรโตซัว หรือพยาธิในลำไส้
โรคอุจจาระร่วงเกิดได้อย่างไร?
- เด็กทารก – เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในขวดนมที่ไม่ต้มให้สะอาด หรือรับเชื้อจากการผสมนม โดยผสมกับน้ำที่ไม่ได้ต้มเดือด รวมถึงการไม่ล้างมือ
- เด็กเล็กอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป – เกิดการปนเปื้อนจากการดูด หรืออมนิ้วมือ และหยิบจับสิ่งของที่ตกพื้นเข้าปาก
- เด็กอายุ 5 ขวบปีแรก – เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโรต้า ที่ปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของ ผ่านการสัมผัส เข้าทางปากโดยตรง
- เด็กโต และผู้ใหญ่ – เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนมากับอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมถึงการไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และภาชนะที่ใส่ หรือบรรจุอาหารไม่สะอาด
อาการของโรคอุจจาระร่วง
- ลักษณะของอุจจาระ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปน
- มีอาการไข้
- มีอาการอาเจียน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาก่อนอาการท้องเสีย
- มีภาวะขาดน้ำ เมื่อเกิดอาการท้องเสียรุนแรง หรือบางรายอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
รักษาโรคอุจจาระร่วง ได้อย่างไร?
- เมื่อมีอาการขาดน้ำ ให้จิบเกลือแร่ ORS ทีละนิด และควรจิบบ่อยๆ
- หากมีไข้ อาเจียน และปวดท้อง ร่วมด้วยสามารถใช้ยาตามอาการได้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหยุดถ่าย
- ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการถ่ายเหลว และลดอาการปวดท้องได้ เช่น ยาเออร์ฟูไซด์ (Erfuzide) ตัวยาจะเป็นแบบ แคปซูล กรณีผู้ป่วยเป็นเด็ก และไม่สามารถกลืนเม็ดยาได้ด้วยตัวเอง สามารถทานยาน้ำแขวนตะกอน ได้ และควรอ่านฉลากยาให้ครบถ้วนก่อนรับประทาน

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
เออร์ฟูไซด์ (Erfuzide)
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของการท้องเสีย มีทั้งแบบน้ำแขวนตะกอนและแบบแคปซูล (ห้ามใช้ในผู้แพ้ยากลุ่ม Nifuroxazide)
- หากผู้ป่วยอุจจาระมีมูกเลือด ขาดน้ำอย่างมาก หอบเหนื่อย ซึมลง มีไข้สูง หรืออาการท้องเสียไม่หาย หรือไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลทันที
ไม่อยากเป็นบ่อย สามารถป้องกันได้
อุจจาระร่วงโรคที่มาพร้อมพฤติกรรมการกิน รวมถึงสุขอนามัยที่ไม่สะอาด ดังนั้นเราควรปรับ เพื่อไม่ให้อาการดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำรอยอีก อย่างการทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น อาหารดิบ อาหารทะเลสดไม่ผ่านการปรุง หรืออาหารหมักดองที่ไม่ผ่านความร้อน เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน และควรล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร