บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเกิด “แผลสด” พร้อมวิธีรักษาแผลอย่างถูกวิธี

Website--Content-I-2-3-Feb-21-01

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้กับเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นแผลขนาดเล็ก หรือแผลขนาดใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจาก การหกล้มจนเข่าถลอก แผลจากของมีคม ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อย่ารอช้า!!! ไปดูกันเลย

แผลสด เป็นแผลที่เกิดขึ้นใหม่ ความรุนแรงของแผลขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น ทั้งอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงน้อย อย่าง หกล้ม จนไปถึงอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงมาก อย่าง อุบัติเหตุจากเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น

ชนิดของบาดแผล

เนื่องจากสาเหตุของการเกิดแผลมีความแตกต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดบาดแผลที่มีความต่างกัน

  • แผลถลอก: เป็นแผลที่เกิดจากการขูด กับวัตถุหรือพื้นที่มีลักษณะแข็ง ซึ่งแผลชนิดนี้มักจะมีลักษณะตื้น ไม่มีเลือดไหลออกมามากนัก ซึ่งผู้ป่วยต้องดูแลทำความสะอาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • แผลถูกบาด: เป็นแผลที่เกิดจากถูกของมีคมบาด เช่น มีด หรือเศษแก้ว โดยแผลชนิดนี้มักทำให้เลือดไหลมาก และอาจจะเกิดอย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับความลึก และความรุนแรงของแผล ซึ่งอาจะสร้างความเสียหายแก่ กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ
  • แผลถูกแทง: ปากแผลมีลักษณะแคบ เนื่องจากถูกของมีคมแทงทะลุผิวหนังเข้าไป แม้อาจจะไม่มีเลือดออกมามาก แต่อาจทำให้อวัยวะภายในเกิดความเสียหาย
  • แผลฉีกขาด: เป็นแผลตัดลึก และมีผิวหนังฉีกขาด มักเกิดจากอุบัติเหตุในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรต่างๆ
  • แผลเนื้อเยื้อฉีกขาดจนหลุดออก: แผลที่มีเนื้อบางส่วน หรือทั้งหมดฉีกขาดจนหลุดออกมา มักเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง ทำให้มีเลือดไหลออกมาอย่างรวดเร็ว

เมื่อเกิดแผลดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ทันที

ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับความลึก ความกว้างของแผล

  • เลือดไหลไม่หยุด เมื่อพยายามกดแผลเมื่อห้ามเลือดแล้ว
  • เลือดไหลจากเส้นเลือดแดง หรือมีเลือดไหลไม่หยุดนานเกิน 20 นาที
  • บาดแผลมีขนาดใหญ่ หรือเกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง
  • มีแผลลึกเกินกว่า 0.5 นิ้ว
  • มีอาการชา บริเวณรอบแผล

วิธีการทำแผล

สำหรับบาดแผลที่ไม่รุนแรง มีขนาดเล็ก ผู้ป่วยสามารถทำแผลเบื้องต้นได้

  • ล้างสิ่งสกปรกออกจากแผล ด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือฆ่าเชื้อ แต่ควรหลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ล้างแผลด้วยการเทโดนแผลที่เปิดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้แผลหายช้า และเกิดการระคายเคืองตามมา
  • กดห้ามเลือด เพื่อให้เลือดหยุดไหล และเป็นการลดอาการบวมของแผล
  • รักษาความสะอาด ของแผลให้แห้ง และครีมเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นการป้องกันการติดเชื้อ และเป็นการให้แผลมีความชุ่มชื้น โดยตัวยาที่นิยมใช้กัน คือ Bactex (แบคเท็กซ์)
เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
แบคเท็กซ์ (Bactex)

ตัวยา Mupirocin ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เหมาะสำหรับรักษาแผลสด แผลมีดบาด แผลติดเชื้อ แผลมีหนอง แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก

แบคเท็กซ์ (Bactex) มีตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดการเกิดแผลแตกแห้งเป็นสะเก็ด สามารถใช้ได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่

* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์

  • รักษาสุขภาพ หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำโดยเด็ดขาด  และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างการฟื้นฟูให้แผลหายเร็วมากยิ่งขึ้น

การดูแลแผลตนเองหลังทำแผล

  • ดูแลแผลให้สะอาด หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำเด็ดขาด พร้อมปิดแผลด้วยผ้าพันแผล และหมั่นเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยๆ
  • หมั่นล้างแผลให้สะอาดอยู่เสมอขณะล้างแผล และเปลี่ยนผ้าพันแผลอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • เมื่อแผลเริ่มแห้งแล้ว อาจมีสะเก็ดของแผล ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการแกะ แคะ เกา บริเวณแผลที่แห้ง เพราะอาจทำให้แผลหายช้าลง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้สัตว์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ดูแลสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดบาดแผล และการทำแผล

ผู้ป่วยควรสังเกตอาการ ซึ่งเป็นสัญญาณต่อการติดเชื้อ และควรรีบพบแพทย์ทันที

  • แผลยังไม่หายดีขึ้น
  • แผลมีอาการบวมขึ้น
  • บาดแผลมีสีคล้ำ ขยายใหญ่ขึ้น หรือมีความลึกมากขึ้น
  • มีเลือด และหนองไหลจากแผล
  • มีอาการเจ็บบริเวณแผล แม้รับประทานยาแก้ปวดแล้ว
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • แผลมีอาการแดง และขยายใหญ่มากยิ่งขึ้น

หากบาดแผลที่เกิดมีขนาดเล็ก และไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสามารถทำแผลด้วยตัวเองที่บ้านได้ หรืออาจใช้ยารักษาแผลสดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรได้

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด