ฤดูหนาวหมุนเวียนมาบรรจบ โรคประจำฤดูกาลเข้ามาระบาดซ้ำ นั่นก็คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) โดยเฉพาะฤดูกาลเปิดเทอมของเด็กนักเรียน ยิ่งทำให้โรคนี้ระบาดหนักเข้าไปอีก และเพื่อเป็นการไม่ประมาท และป้องกันลูกน้อยของเราจากโรค เรามาทำความรู้จักโรคนี้กัน ว่าจะมีสาเหตุ และอาการเป็นอย่างไร เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เตรียมรับมือ และป้องกันได้ทันท่วงที
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) ชื่อภาษาอังกฤษ “Influenza A (H1N1) หรือ“A(H1N1)pdm09” เป็นโรคที่สามารถแพร่จากคนสู่คนได้
สาเหตุของเชื้อ : ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน สุกร และนก
การแพร่กระจาย : โรคไข้หวัดสามารถแพร่กระจายเหมือนไข้หวัดทั่วไป โดยผ่านการไอ หรือจาม รดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่
ระยะเวลาในการติดต่อ : ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรก จะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน
อาการป่วย เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) มีอะไรบ้าง?
แฝดคนละฝา อาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อาการที่คล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่จะมีอาการรุนแรง โดยแสดงอาการดังต่อไปนี้
- มีไข้สูงราว 38 องศาเซลเซียส
- คัดจมูก น้ำมูกไหล
- ปวดศีรษะ
- หนาวสั่น
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ
- ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
รักษาอย่างไร
เมื่อลูกมีอาการเล็กน้อย หรือไม่รุนแรงมาก มีไข้ต่ำๆ ยังสามารถรับประทานอาหารได้ สามารถไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือเข้าไปขอคำแนะนำ และขอรับยาจากเภสัชกรใกล้บ้านได้เลย และสามารถรักษาดูแลตัวเองที่บ้านได้เลย โดยมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้
- รับประทานยาตามอาการ
- เมื่อมีอาการไข้ สามารถใช้ยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้ได้
- เมื่อมีอาการไอมีเสมหะ สามารถใช้ยาแก้ไอหรือยาละลายเสมหะ ที่มีตัวยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) ควบคู่ไปได้ อย่างเช่น Amicof (อามีคอฟ) เพื่อช่วยลดความเหนียวของเสมหะ และทำให้เด็กขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
AMICOF (PAEDIATRIC SYRUP)
อามีคอฟ ชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก เป็นยาละลายเสมหะ ลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ขับออกได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอ เหมาะสำหรับรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ หู คอ จมูก
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
- เช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ ด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง
- จิบน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาว ค่อยๆ จิบตลอดทั้งวัด ไม่ดื่มน้ำเย็นเด็ดขาด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ กลืนง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้
- พักผ่อนให้เพียงพอ โดยภายในห้องต้องอากาศถ่ายเทได้ดี
- ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ หากไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
หากลูกมีอาการรุนแรงต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพื่ออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ต่อไป
7 กลุ่มเสี่ยงเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
โดยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จะมีสิทธิรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฟรี ได้แก่
- หญิงมีครรภ์ (แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เมื่อมีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป)
- เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
- ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
- ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- โรคอ้วน มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร(BMI 35)
วิธีป้องกันอย่างไร? ไม่ให้ติดเชื้อ-แพร่เชื้อ ไข้หวัดใหญ่
- หลีกเลี่ยงคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ให้สะอาด
- สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ เมื่อเดินทางไปในที่ผู้คนพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เป็นต้น
- ไม่ควรใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อนส้อม จาน ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
- ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งเมื่อไอจาม
- ใช่ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น