บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

สิ่งที่ควรรู้!!! แบบไหนเรียกอาหารเป็นพิษ แบบไหนเรียกกรดเกิน

Website-Content-April-21-I-3-01
ในปัจจุบันที่สังคมมีความเร่งรีบ ทำให้กิจกรรมในชีวิตประจำวันถูกปรับเปลี่ยนไปตามเวลาที่จำกัด ซึ่งกระทบกับการรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ อาหารกระป๋อง หรืออาหารค้างคืน รวมถึงการกินอาหารไม่ตรงเวลา ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำเกิดอาการต่างๆ เช่น อาการท้องเสีย หรืออาการกรดเกิน ซึ่ง 2 อาการเหล่านี้กลายเป็นโรคที่คุ้นเคย และเป็นโรคประจำตัวของหลายๆคนไปแล้วซึ่งวันนี้เราจึงพาทุกคนไปรู้จักอาการเหล่านี้กัน เนื่องจากเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารเหมือนกัน จนบางครั้งเราก็แยกไม่ออก ว่าเราเป็นอะไรกันแน่? ตามไปดูกันเลย

อาหารเป็นพิษ

สาเหตุ

เนื่องจากการรับประทาน หรือดื่มน้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สารพิษจากพืชและสัตว์ สารเคมีที่ปนเปื้อน ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือบางรายมีอาการท้องเสียและอาเจียนตามมา พบได้ในอาหารปรุงไม่สุก อาหารกระป๋อง หรืออาหารค้างคืน โดยทั่วไปแล้วอาหารเป็นพิษเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่หากเกิดอาการรุนแรงก็อาจทำให้สูญเสียน้ำ และเกลือแร่ได้

อาการ
  • อาเจียน หลังรับประทานอาหาร 2-12 ชั่วโมง 
  • ปวดท้อง
  • ท้องเสียถ่ายเหลว
  • มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ กระหายน้ำ
วิธีการดูแลตนเอง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เมื่อเกิดอาการท้องเสียควรดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
  • รับประทานอาหารย่อยง่าย เช่น โจ๊ก น้ำซุป เลี่ยงอาหารที่มีรสจัด ของหมัก ดอง และอาหารที่มีไขมันสูง
  • รับประทานยาแก้ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน ที่มีตัวยา Nifuroxazide ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของอาการท้องเสียได้ โดยผู้ป่วยควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร
เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
เออร์ฟูไซด์ (Erfuzide)

ตัวยา Nifuroxazide มีทั้งแบบยาน้ำแขวนตะกอน และแคปซูล (ห้ามใช้ในผู้แพ้ยานี้)

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม ยาแก้ท้องเสียมีกี่ประเภท เลือกใช้ตามอาการอย่างไรให้ถูกวิธี คลิก!

อาการกรดเกิน

อาการกรดเกิน โรคฮิตของหลายๆคน สาเหตุหลัก คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตเร่งรีบ จนกระทบกับการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้กระเพาะทำงานหนัก และหลั่งกรดออกมาย่อยมากกว่าปกติ ซึ่งกรดที่เกิน อาจทำให้ไหลย้อนกลับขึ้นมาระคายเคืองที่หลอดอาหาร
อาการ
  • อาการที่เป็นกันบ่อยที่สุดก็คืออาการแสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่
  • ความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
  • บางรายขับถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหลว หรือถ่ายออกเป็นน้ำซึ่งมักทำให้เข้าใจผิดได้ว่าท้องเสีย
วิธีการดูแลอาการ
  • รับประทานยาลดกรด ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด
  • ไม่ควรดื่มนม เพราะอาจจะเพิ่มปัญหาให้กระเพาะโดยไม่รู้ตัว เพราะลำไส้ของบางคนไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนม จึงมักเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จนถึงท้องเสีย แทรกขึ้นมาจากอาการกรดเกินที่เป็นอยู่
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร งดอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  • งดอาหารทอด อาหารมัน อาหารรสจัด
  • หลีกเลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา
  • อาการท้องเสียเนื่องจากกรดในทางเดินอาหารมากเกิน มักทุเลาลงได้เอง เมื่อร่างกายเข้าสู่สมดุล

ไม่ว่าจะอาหารเป็นพิษ หรือ อาการกรดเกิน ซึ่งมักเป็นสาเหตุของการท้องเสีย ถ่ายท้อง เราต้องสังเกตตัวเอง และแยกความแตกต่าง จะได้ดูแลตัวเองได้ตรงตามสาเหตุ และสิ่งสำคัญสุดคือ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ตรงเวลา ไม่รับประทานอาหารจุกจิก รวมถึงการรับประทานให้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ย่อยง่าย เมื่อรับประทานยาควรศึกษาฉลากยาหรือ เอกสารกำกับยาก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ไม่ว่า จะเป็นยาอะไรหรือ รูปแบบไหนก็ตามการใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด