บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

เชื้อราร้ายแรงขนาดไหน? ป้องกันได้จริงหรอ

Website Content I May, 21_3-01

เชื้อรา ภัยร้าย กัดกินผิวหนัง อาการที่พบบ่อยเมื่อเกิดโรคเชื้อรา คืออาการคัน ซึ่งสร้างความไม่มั่นใจ ดังนั้นการรักษาสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เราทุกคนไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

โรคเชื้อรา  คือโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกายติดเชื้อรา จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ การติดเชื้อราส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อราโดยตรงหรือสปอร์ของเชื้อรา โดยอาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรง สามารถหายเองได้เมื่อทายายับยั้งเชื้อยาที่มีส่วนผสมของโครไตรมาโซล (Clotrimazole) หรือเทอบินาฟีน (Terbinafine) แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษา  อาจเกิดการลุกลามทำให้เสียชีวิตได้

เชื้อราในคนรุนแรงแค่ไหน?

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จำแนกความรุนแรงการเกิดโรคเชื้อราตามความลึก โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  1. Superficial mycoses เป็นการติดเชื้อราชนิดตื้นที่สุด โดยโรคที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่
    • โรคเกลื้อน เป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเหงื่อออกค่อนข้างเยอะ รวมถึงไม่รักษาความสะอาด ลักษณะที่พบเป็นผื่นสีแดง พบบ่อยบริเวณคอ หัวไหล่ หน้าอก และหลัง
  1. Cutaneous Mycoses เป็นเชื้อราที่เกิดขึ้นบริเวณผม ขน และเล็บ สามารถลุกลามจากชั้นนอกสุด ไปอยู่ในรูขุมขน ผม หรือโคนเล็บได้ โดยโรคที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่
    • โรคกลาก เป็นอีกหนึ่งโรคที่จัดว่า พบบ่อยที่สุด กลากสามารถขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และขาหนีบ
    • โรคผิวหนังจากเชื้อแคนดิด้า เป็นโรคที่พบบ่อยบริเวณอวัยวะที่มีความชื้น เช่น บริเวณอวัยวะเพศ บริเวณรอบๆ ทวารหนัก ขาหนีบ
  1. Subcutaneous mycoses เป็นโรคที่ติดเชื้อรา บริเวณผิวหนัง และใต้ผิวหนัง สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล ยังไม่แพร่กระจายสู่อวัยวะอื่น
  2. Systemic mycoses เป็นโรคที่ติดเชื้อราที่เกิดกับอวัยวะภายใน และระบบเลือด สามารถแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นได้

เมื่อติดเชื้อราแล้วรักษาอย่างไร

การรักษาเชื้อราในปัจจุบัน สามารถหาซื้อยามารักษาตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งมีตัวยาให้เลือกหลากหลายรูปแบบ โดยมีตัวยาทั้งหมด 4 รูปแบบ การเลือกใช้ยาจะอยู่ที่การวินิจฉัย หรือดุลยพินิจของแพทย์ และเภสัชกร และความต้องการเลือกใช้ยาของผู้ป่วย

  • ยาต้านเชื้อราสำหรับใช้ภายนอก ลักษณะของตัวยาอยู่ในรูปแบบ เป็นเนื้อครีม โลชั่น น้ำ หรือสเปรย์
  • ยาต้านเชื้อราสำหรับรับประทาน ลักษณะของตัวยาอยู่ในรูปแบบ ยาเม็ด และยาน้ำ
  • ยาต้านเชื้อราสำหรับฉีดเข้าร่างกาย ยาตัวนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • ยาต้านเชื้อราใช้เฉพาะที่ (สำหรับสอด) ลักษณะของตัวยาอยู่ในรูปแบบยาเม็ด ที่สามารถสอดเข้าไปบริเวณช่องคลอดได้ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเชื้อราในช่องคลอด

การป้องกัน โรคจากเชื้อรา

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะนำวิธีการดูแลให้ร่างกายเราห่างไกลโรคเชื้อรา

  • ดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย ไม่ให้เปียกชื้น
  • เสื้อผ้าที่สวมใส่ รวมถึงเครื่องใช้ส่วนตัว และเครื่องนอน ควรซักให้สะอาด และตากแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้
  • ห้องนอนไม่ควรมีความชื้น เมื่อแดดออกควรเปิดหน้าต่างหรือประตูให้อากาศถ่ายเท หากที่นอนเปียกชื้น ควรเอาไปตากแดดให้แห้งก่อน
  • หลีกเลี่ยงการตากฝน และพยายามทำให้ร่างกายอบอุ่น อย่างเช่น สวมใส่เสื้อผ้าอบอุ่น และสิ่งสำคัญควรทำตัวเองให้แห้งอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่มีกลิ่นอับชื้น ไม่แห้งสนิท ซึ่งก่อให้เกิดโรคตามมา รวมถึงส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพของผู้สวมใส่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ที่มีวิตามินสูง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

อ้างอิงจาก

  1. What are fungal infections?. (2564), จาก https://labtestsonline.org/conditions/fungal-infections
  2. บทความปริทัศน์. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. เชื้อราทางการแพทย์. (2564), จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/download/58737/48428/
  3. สำนักสารนิเทศ. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564), จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/130521/

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด