เชื้อราในร่มผ้า ปัญหาคันๆ ทำไมรักษาเท่าไรก็ไม่หาย จริงๆ แล้วเรารักษาตรงจุดหรือเปล่า หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรหรือไม่ ที่ทำให้เชื้อรามาเป็นปัญหากวนใจ บทความนี้จะมีสาระดีๆ เกี่ยวกับการดูแล รักษาอย่างถูกวิธีกันค่ะ
ลักษณะอาการโรคเชื้อราในร่มผ้า
มีอาการคันเป็นอาการเด่น ผื่นแดง ค่อยๆ ลามไป มีลักษณะเป็นวงมีขอบเขตชัดเจน ขอบนูนเล็กน้อยและมีสีแดง หรือ ขุยขาวๆ อยู่รอบๆ และลุกลามขยายออกเป็นวงกว้าง
ทำไมเราถึงเป็นเชื้อราในร่มผ้า
ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อน ทำให้มีความอับชื้นจากเหงื่อได้ง่าย อาจส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงพฤติกรรมบางอย่างที่อาจทำเสี่ยงเป็นเชื้อราผิวหนังได้ ได้แก่
- ใส่เสื้อผ้าที่ไม่สะอาด อับชื้น หรือใส่เสื้อผ้าซ้ำ โดยเฉพาะถุงเท้า และกางเกงใน
- สัมผัสกับเชื้อราโดยตรง เช่น การใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น สัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อรา หรือว่ายน้ำในสระที่ไม่มีการฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม
- สวมใส่เสื้อที่รัดแน่น ไม่ระบายอากาศ
- อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว
- มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน มีภูมิคุ้มกันต่ำจากสาเหตุอื่น
เชื้อราในร่มผ้ารักษาอย่างไร
- ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ตัวยาชนิดนี้สามารถรักษาได้โรคเกี่ยวกับเชื้อได้หลายโรค เช่น กลาก เกลื้อน สังคัง เชื้อราที่เท้า เป็นต้น
- ตัวอย่างยา เช่น ซีม่าครีม (Zema Cream) มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา สามารถใช้กับบริเวณผิวหนังอ่อนได้ โดยทาบริเวณที่มีอาการ ตามฉลากยา หรือเอกสารกำกับยา หรือแพทย์เภสัชกรแนะนำ
- ตัวอย่างวิธีใช้ คือ ทาบริเวณผิวที่ติดเชื้อรา 2-3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
ซีม่าครีม (Zema Cream) และ ซีม่าโลชั่น (Zema Lotion)
ซีม่าครีม (Zema Cream)
มีตัวยาสำคัญ Clotrimazole ใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา กลาก เกลื้อน ผื่นคันในร่มผ้า และน้ำกัดเท้า โดยทายาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้งระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและอาการ
ซีม่าโลชั่น (Zema Lotion)
ตัวยา Salicylic acid, Resorcinol และ Phenylic acid กำจัดเชื้อราด้วยกลไก 3 ประสาน ลดการกลับมาเป็นซ้ำและการดื้อยา โดยใช้สำลีชุบยา ทาบางๆ เบาๆ วันละ 1 ครั้ง ไม่ควรถู แกะและเกา
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
เชื้อราในร่มผ้าป้องกันได้
เพื่อไม่ให้เป็นเชื้อราผิวหนังซ้ำ ดังนั้นควรปรับพฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้
- ดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำ
- ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป ควรระบายอากาศได้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการอับชื้นของผิวหนัง
- ไม่ใช้ของรวมกับผู้อื่น เช่น ถุงเท้า รองเท้า หวี ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
- หมั่นทำความสะอาดรองเท้า โดยการซัก และเอาไปผึ่งแดด
- อาบน้ำทันทีเมื่อออกกำลัง หรือทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออก
- หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่มีกลิ่นอับชื้น ไม่แห้งสนิท
- ไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยงที่มีอาการผิดปกติทางผิวหนังเช่น สัตว์ที่เกาผิวหนังบ่อยๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ที่มีวิตามินสูง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
- หากมีอาการบริเวณผิวหนังรุนแรงควรรีบพบแพทย์ทันที