ช่วงนี้พายุเข้า ฝนตกหนัก ปัญหาที่พบเจอบ่อยๆ คงหนีไม่พ้น “น้ำท่วมขัง” ซึ่งสิ่งที่ตามมากับน้ำคงหนีไม่พ้น “โรคน้ำกัดเท้า” และตอนนี้หลายๆ คนคงเริ่มมีอาการคันยุบยิบที่เท้ากันแล้ว ดังนั้นอาการที่เราเป็นเข้าข่ายอาการโรคน้ำกัดเท้าหรือไม่? ลองมาเช็กกันเลย!
โรคน้ำกัดเท้า เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเท้าเราแช่ในน้ำเป็นเวลานาน ทำให้บริเวณเท้ามีความอับชื้น ทำให้เกิดอาการเท้าเปื่อย ลอก คัน และแสบ และติดเชื้อราตามมาได้
อาการของน้ำกัดเท้า
- เท้ามีกลิ่น
- อาการคัน ผื่นแดง
- มีตุ่มน้ำใส ที่ง่ามเท้า
- เป็นขุยที่ง่ามเท้า
- เท้าเปื่อยลอก

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคน้ำกัดเท้า
- ผู้ที่ลุยน้ำ แช่น้ำเป็นเวลานาน
- ผู้ที่สวมใส่รองเท้าที่อับชื้นเป็นเวลานาน เช่นรองเท้าบู๊ท รองเท้าผ้าใบเปียกน้ำ
- สวมรองเท้า หรือถุงเท้าที่มีเชื้อรา
การป้องกัน “โรคน้ำกัดเท้า”
น้ำกัดเท้าใครๆ ก็ไม่อยากเป็นเพราะเป็นปัญหากวนใจที่สุด แต่ก็สุดจะหลีกเลี่ยงที่จะต้องเดินลุยน้ำ ดังนั้นการรักษาความสะอาดเท้า และดูแลบริเวณเท้าให้มีความชื้นน้อยที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญ
- หลีกเลี่ยงการยืนแช่น้ำเป็นเวลานาน
- เมื่อต้องเดินลุยน้ำ ป้องกันด้วยการสวมรองเท้าบู๊ท หากระดับน้ำสูงให้สวมถุงดำรัดด้วยหนังยาง แต่ถ้าหากน้ำเข้าให้เทน้ำออกเป็นระยะๆ
- หากมีความจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรล้างเท้าให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้งทุกครั้ง โดยเฉพาะซอกนิ้ว หลังจากลุยน้ำทุกครั้ง
- ถุงเท้า ไม่ใส่ซ้ำ ควรซัก และตากให้แห้งก่อนใส่ทุกครั้ง
- ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่นโดยเฉพาะ ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า รองเท้า เป็นต้น
โรคน้ำกัดเท้า รักษาอย่างไร
เมื่อเราเป็นโรคน้ำกัดเท้า อย่าเพิ่งกังวลไป เนื่องจากเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้
- น้ำกัดเท้าระยะแรก เมื่อยังไม่ติดเชื้อรา (ผิวหนังแดงลอก เท้าเปื่อย แสบ คัน)
ระยะนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อรา เพียงหมั่นล้างเท้าให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง รวมถึงสวมรองเท้า ถุงเท้าที่ทำความสะอาดอยู่เสมอ
- น้ำกัดเท้าระยะสอง เมื่อเป็นเชื้อรา (ผิวหนังชื้นเปื่อย เท้ามีกลิ่นเหม็น)
- กรณีเป็นแผลน้ำกัดเท้า ติดเชื้อไม่รุนแรง ให้ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือให้สะอาด และทายาฆ่าเชื้อรา โดยหาซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ซีม่าครีม (Zema Cream)หรือซีม่าโลชั่น (Zema Lotion) หากเป็นการติดเชื้อรุนแรง ควรใช้ยาปฏิชีวนะ หรือรีบไปพบแพทย์ทันที
- เมื่อใช้ยาฆ่าเชื้อรา ควรใช้อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดใช้ยาเองแม้ว่าอาการจะดีขึ้นเพราะอาจมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้อีก หรือหากมีอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์ทันที

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
ซีม่าครีม (Zema Cream) และ ซีม่าโลชั่น (Zema Lotion)
ซีม่าครีม (Zema Cream)
มีตัวยาสำคัญ Clotrimazole ใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา กลาก เกลื้อน ผื่นคันในร่มผ้า และน้ำกัดเท้า โดยทายาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้งระยะเวลาในการใช้ยา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและอาการ
ซีม่าโลชั่น (Zema Lotion)
ตัวยา Salicylic acid, Resorcinol และ Phenylic acid กำจัดเชื้อราด้วยกลไก 3 ประสาน ลดการกลับมาเป็นซ้ำและการดื้อยา โดยใช้สำลีชุบยา ทาบางๆ เบาๆ วันละ 1 ครั้ง ไม่ควรถู แกะและเกา
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
ด้วยสถานการณ์น้ำท่วมขัง บางครั้งก็ไม่อาจจะเลี่ยงได้ แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีข้อปฏิบัติข้างต้น แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการดูแลความสะอาดของเท้า ให้แห้งอยู่เสมอ