แผลพุพอง เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบมากสุดในเด็ก และทารก ใครที่มีลูก หรือเด็กที่บ้าน ต้องควรระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กมือเค้าจะอยู่ไม่นิ่ง เกานั้นเกานี้ไปเรื่อย จนเป็นแผล และทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย จนทำให้เกิดแผลพุพองในที่สุด ดังนั้นเราจะดูแลรักษาอย่างไรให้แผลหาย และสามารถลดการแพร่กระจ่ายสู่ผู้อื่นได้
อาการของแผลพุพอง
แผลพุพองเกิดจากแบคทีเรียที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดสแตฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) หรือชนิด สเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes) โดยจะพบเป็นผื่นแดง กลายเป็นตุ่มหนองตกสะเก็ด ซึ่งอาการของแผลพุพองแบ่งออกเป็น 3 อาการ คือ แบบมีตุ่มน้ำ แบบไม่มีตุ่มน้ำ และแบบรุนแรงโดยมีลักษณะและอาการดังต่อไปนี้
- แผลพุพองแบบมีตุ่มน้ำ (Bullous Impetigo) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด มักพบในเด็กวัย 2-5 ขวบ โดยรอยจะเริ่มเป็นผื่นแดงคัน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มใสเล็กๆ มีฐานเป็นสีแดง หลังจากนั้นจะกลายเป็นตุ่มหนอง แตกออกง่าย และจะตกสะเก็ดในที่สุด เมื่อผื่นส่วนแรกแตกแล้ว มักจะมีผื่นขึ้นตามบริเวณข้างเคียงหลายตุ่ม และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลุกลามจากการเกา บางรายอาจมีไข้สูงและมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
พบได้บริเวณ: ใบหน้า ใบหู จมูก ปาก ศีรษะ ก้น และบริเวณนอกร่มผ้า เช่น มือ แขน ขา หัวเข่า หรือบริเวณที่มีผื่นแพ้หรือแผลอยู่เก่า
- แผลพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำ (Non–Bullous Impetigo) มักพบในเด็กแรกเกิด โดยมีอาการเป็นตุ่มใสสีเหลืองขนาดใหญ่ บริเวณผิวรอบๆแผล มีรอยแดง แตกง่าย ซึ่งทำให้เด็กแสบร้อน แต่จะไม่มีไข้ หรืออาการร้ายแรงอื่นๆ
พบได้บริเวณ: ที่อับชื้นในร่างกาย
- แผลพุพองแบบรุนแรง (Ecthyma) มักพบในเด็ก ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง หรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยในระยะแรกจะขึ้นเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนองเล็กๆ มีฐานสีแดง แล้วจะโตขึ้นอย่างช้า ๆ มีขนาดประมาณ 1-3 เซนติเมตร ต่อมาจะมีสะเก็ดและขอบแผลชัด ลักษณะเป็นสะเก็ดแข็งสีคล้ำติดแน่น ข้างใต้เป็นน้ำหนอง ถ้าเป็นนาน ๆ ขอบแผลจะยกนูน เมื่อหายแล้วจะกลายเป็นแผลเป็น
พบได้บริเวณ: ขา หรือเท้า

การดูแลรักษาด้วยตนเอง เมื่อเกิดแผลพุพอง
- ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผล
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยสบู่ หรือน้ำสะอาด หรือแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อ หลังการสัมผัสแผล
- ทายาแผลสด เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน ซึ่งตัวยาที่นิยมใช้กัน เนื้อยาจะเป็น ออยเม้นท์ เพราะยาจะเกาะแผลได้ดี

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
แบคเท็กซ์ (Bactex)
ตัวยา Mupirocin ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เหมาะสำหรับรักษาแผลสด แผลมีดบาด แผลติดเชื้อ แผลมีหนอง แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก
แบคเท็กซ์ (Bactex) มีตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดการเกิดแผลแตกแห้งเป็นสะเก็ด สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
- ตัดเล็บให้สั้น เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค รวมถึงรักษาความสะอาดเสื้อผ้า และเครื่องใช้อยู่เสมอ
- ไม่แคะ แกะ เกา หรือบีบบริเวณแผล เพราะจะเพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคกระจายไปยังผิวหนังบริเวณอื่น
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐานโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
- ถ้าอาการพุพองยังไม่ดีขึ้น หรืออาการต่างๆ แย่ลง หรือพบในทารก ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
* หากเป็นแผลพุพองแบบรุนแรง และกระจายเป็นวงกว้าง หรือไม่ตอบสนองต่อยาหรือการรักษา ควรรีบให้แพทย์วินิจฉัยทันที
ดังนั้น เมื่อเด็กเป็นแผลพุพองแล้ว ควรให้เด็กอยู่ในบ้านจนกว่าจะหาย ผู้ปกครองไม่ควรพาไปในที่ที่มีคนพลุกพล่าน เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น เป็นต้น รวมถึงการไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าขนหนู รวมถึงของเล่น เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน หรือติดเชื้ออันตรายจากการสัมผัส