เสมหะเป็นเรื่องที่เกิดเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ส่งผลร้ายแรงแต่อย่างไร แต่ถ้าหากมีเสมหะบริเวณคอเรื้อรังนานนับสัปดาห์ หรือนานแรมเดือน ขากเสมหะออกมาก็แล้ว ก็ไม่หมดสักทีหายใจก็ไม่ค่อยจะสะดวก เป็นปัญหากวนใจสุดๆ ดังนั้นลองมาเช็กกันหน่อยกับบทความนี้ว่าเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง และจะรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี
เกร็ดความรู้ เสมหะสามารถใช้ป้องกันระบบทางเดินหายใจได้ โดยมีหน้าที่ช่วยดักจับฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย ควัน หรือสิ่งแปลกปลอม ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งเมือกเรานี้ถ้าอยู่ในจมูกจะเรียก “น้ำมูก” อยู่ในคอ จะเรียก “เสมหะ”
มีเสมหะในคอตลอดเวลา มีสิทธิ์เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
มีเสมหะในคอตลอดเวลา มีสิทธิ์เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
เสมหะเหมือนจะมีประโยชน์ แต่ถ้าเป็นนานๆ เรื้อรังไม่หายสักที ก็มีสิทธิ์เสี่ยงที่เราจะเป็นโรคได้ จะมีโรคอะไรบ้าง มาดูกันเลย
- ภูมิแพ้อากาศ โดยมีสาเหตุมาจากการหายใจเอาควันพิษ ควันบุหรี่ ฝุ่นเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจ มักมีอาการไอ ไอมีเสมหะ น้ำมูกใส จาม คันจมูก คันหัวตา ร่วมด้วย อ่านเพิ่มเติม คลิก
- ไข้หวัด เกิดจากการติดไวรัสบริเวณทางเดินหายใจ เช่น จมูก กล่องเสียง ไซนัส และคอ จึงทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ โดยมีลักษณะใส หรือขาวๆ เด็กจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว ร่วมด้วย อ่านเพิ่มเติม คลิก
- ไซนัสอักเสบเรื้อรัง โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเยื่อบุจมูก และไซนัส ซึ่งไปกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกขึ้นมาจำนวนมาก ทำให้น้ำมูกไหลลงคอ จนทำให้เรารู้สึกมีเสมหะอยู่ตรงบริเวณคอตลอดเวลา
- โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โดยมีสาเหตุมาจากการระคายเคืองต่อสารก่อภูมิแพ้ ส่งผลให้ต่อมเสมหะ สร้างเสมหะจำนวนมากเพื่อมาเคลือบหลอดลมตลอดเวลา มักมีอาการไอ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก และอาจทำให้มีเสมหะในลำคอ โดยสัญญาณเตือนเริ่มแรกคือ มีอาการไอมากกว่าปกติ
- การหายใจ โดยเอามลพิษ ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันธูป เข้าไปบ่อยๆ ทำให้เกิดการระคายเคือง เยื่อบุทางเดินหายใจ ส่งผลให้มีน้ำมูกมาก และไหลลงคอจนทำให้เกิดเสมหะ ดังนั้นควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ
- โรคกรดไหลย้อน โดยมีสาเหตุมาจาก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาถึงบริเวณลำคอ ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง ทำให้มีเสมหะได้ และมีอาการแสบร้อนจากช่วงอกไปจนถึงลิ้นปี่ เจ็บหน้าอก มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมในคอ เรอบ่อย ระคายเคืองคอ ร่วมด้วย
สีของเสมหะ ก็สามารถบอกโรค
เมื่อมีเสมหะ ลองสังเกตสีของเสมหะ ซึ่งสามารถบอกโรคได้คร่าวๆ ดังต่อไปนี้
- เสมหะสีใส – เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจเป็นโรค โรคไข้หวัด โรคภูมิแพ้ โรคที่เกี่ยวกับปอด และโรคหลอดลมอักเสบ
- เสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว แสดงว่าร่างกาย มีการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจเป็นโรค โรคไซนัสอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม และโรคซิสติกไฟโบรซิส
- เสมหะสีแดง – แสดงว่ามีเลือดออกภายในร่างกาย อาจเป็นโรค โรคมะเร็งในปอด ฝีในปอด ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด วัณโร
- เสมหะสีดำ – แสดงว่าร่างกายมีการติดเชื้อรา อาจเป็นโรค โรคฝีในปอด ฝุ่นจับปอด และโรคมะเร็งปอด
วิธีกำจัดเสมหะในลำคอ
- พยายามดื่มน้ำเยอะ การดื่มน้ำอุ่นสะอาด ทุกชั่วโมง จะช่วยในการคลายความเหนียวข้นของเสมหะ และทำให้ร่างกายขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น แนะนำ! หากเป็นน้ำอุ่นผสมมะนาว ยิ่งดี เพราะจะช่วยขับเสมหะได้ไวขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น ในช่วงที่เด็กมีเสมหะ
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ โดยใช้เกลือ ¼ ช้อนชา ผสมกับน้ำอุ่น แล้วนำมากลั้วคอ แนะนำ! ระหว่างกลั้วคอโดยเงยหน้าขึ้นระหว่างที่กลั้วคอไปด้วย ซึ่งเกลือจะช่วยกำจัดแบคทีเรีย ส่วนน้ำอุ่นจะช่วยในการละลายเสมหะ
- พยายามไอเพื่อขับเสมหะออกมา ใช้ได้สำหรับมีเสมหะในลำคอเท่านั้น แนะนำ! ให้สูดหายใจเข้าไปลึกๆ แล้วกลั้นหายใจไว้สักครู่ แล้วออกแรงพอควร ก่อนจะบ้วนเสมหะทิ้งในที่ที่เหมาะสม
- ขับน้ำมูก และเสมหะออกมา ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดเสมหะ สิ่งที่ไม่ควรทำคือ พยายามไม่ให้เด็กกลืนเสมหะลงคอ ข้อควรระวัง! ไม่ควรกลืนเสมหะที่ค้างอยู่ในร่างกายกลับลงไป เพราะอาจทำให้เชื้อโรคกลับเข้าสู่ระบบร่างกายได้
- ใช้สมุนไพรกำจัดเสมหะ สมุนไพรไทยสามารถช่วยลดเสมหะได้หลายชนิด อ่านเพิ่มเติม
- ใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ ที่มีตัวยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) อย่างเช่น Amicof (อามีคอฟ) เพื่อช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น ปรึกษาการใช้ยา ได้ที่นี่ คลิก

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
AMICOF (PAEDIATRIC SYRUP)
อามีคอฟ ชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก เป็นยาละลายเสมหะ ลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ขับออกได้ง่ายขึ้น บรรเทาอาการไอ เหมาะสำหรับรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ หู คอ จมูก
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
พฤติกรรมสุดเสี่ยง ที่ทำให้เป็นเสมหะเรื้อรัง
เมื่อเรารู้ตัวว่าเราเป็นคนที่มีเสมหะเยอะ หรือเป็นเรื้อรังไม่หายสักที และอยากจะไม่เห็นเป็นปัญหากวนใจ เราต้องย้อนดูพฤติกรรม หรือสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เพื่อหลีกเลี่ยง และไม่ก่อให้เกิดเสมหะพบริเวณคอ เช่น
- สูบบุหรี่บ่อย
- ดื่มแอลกอฮอล์จัด
- นอนดึก ตื่นเร็ว ภูมิต้านทานต่ำ
- ออกไปข้างนอก เจอมลพิษทางอากาศ
- กินอาหารเร่งรีบ รสจัด มันเยอะ กะทิเน้นๆ