บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

แผลติดเชื้อ แผลไม่ร้ายแรงแต่อันตรายมากถ้ารักษาผิดวิธี

Content 5_Fab copy-01

อุบัติเหตุ เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา และเชื่อเหลือเกินว่าทุกคนย่อมเคยมีบาดแผล ไม่ว่าแผลนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ซึ่งการดูแลรักษาบาดแผลจนแห้งสนิทนั้นเป็นสิ่งที่เราควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะถ้าแผลเกิดอาการติดเชื้อขึ้นมา มันจะกลายเป็นฝันร้ายได้ทันที ดังนั้นเราควรรู้วิธีการดูแลรักษา ซึ่งเราได้รวบรวมไว้แล้ว ไปอ่านกันเลย 

บาดแผลจะกลายเป็นแผลติดเชื้อเมื่อไหร่?

  • จุลชีพที่อยู่บนผิวหนังของเราแต่ไม่ได้ทำอันตรายใดๆ ได้แทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายผ่านบาดแผล
  • แผลติดเชื้อเกิดจากเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกจากสัตว์ หรือมนุษย์ระหว่างประสบอุบัติเหตุ
  • มือที่สกปรกหรือวัตถุอื่นที่ปนเปื้อนเชื้อโรคสัมผัสถูกบาดแผล
  • แผลโดนน้ำ แล้วไม่รักษาแผลโดยไว

อาการทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นหลังแผลติดเชื้อ

  • อาการของแผลติดเชื้ออาจปรากฏใน 2-3 วันหลังจากเกิดแผล
  • รู้สึกอุ่น ผิวหนังใกล้ๆ บาดแผล และแผลบวมขึ้น
  • รู้สึกปวดบริเวณบาดแผลมากขึ้น
  • บาดแผลมีกลิ่นเหม็น
  • บาดแผล มีเลือดหรือหนอง
  • มีไข้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการติดเชื้อรุนแรงขึ้น

การปฐมพยาบาลทั่วไปที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในแผล

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังสัมผัสกับแผลโดยใช้น้ำสะอาด น้ำสบู่ หรือน้ำเกลือ
  • ทายาเพื่อฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียที่บริเวณแผล ซึ่งยาที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน คือ Bactex เพราะเป็นยาที่ใช้ง่าย และสามารถยับยั้งเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
แบคเท็กซ์ (Bactex)

ตัวยา Mupirocin ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เหมาะสำหรับรักษาแผลสด แผลมีดบาด แผลติดเชื้อ แผลมีหนอง แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก

แบคเท็กซ์ (Bactex) มีตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดการเกิดแผลแตกแห้งเป็นสะเก็ด สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์

  • ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซเพื่อป้องกันบาดแผลจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรก และต้องเปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่ทุกครั้งที่ทำแผล
  • ล้างมือทุกครั้งหลังทำแผลเสร็จและไม่ลืมที่จะปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยในการล้างมือทุกครั้ง

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • มีไข้ หรือหนาวสั่น
  • รู้สึกปวดมากขึ้น หรือมีอาการบวมแดงเพิ่มมากขึ้นบริเวณบาดแผล หรือรอบๆ แผล
  • บาดแผลไม่ดีขึ้นแม้เวลาผ่านไป
  • สงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น

ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติอย่าชะล่าใจเด็ดขาด เพราะภาวะแผลติดเชื้ออันตรายกว่าที่คิด อาจจะถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา หรือถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แผลติดเชื้อ เราควรรักษาและป้องกันอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของบาดแผล และอุปกรณ์ในการทำความสะอาดแผล ตลอดจนการเลือกทานอาหารที่ช่วยสมานแผล และปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยในการล้างมือทุกครั้งเมื่อทำแผล

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด