บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

ใครเป็นแผลเรื้อรัง…อย่าชะล่าใจ ป้องกันได้

Website Content I May, 21_4-01

บาดแผลที่พบในปัจจุบัน จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ แผลเรื้อรัง และแผลเฉียบพลัน ซึ่งแผลเรื้อรังเป็นแผลที่รักษาเท่าไรก็ไม่หายสักที จึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างยิ่ง นอกจากพบแพทย์แล้ว ต้องหมั่นสังเกต และดูแลแผลเรื้อรังไม่ให้ลุกลามต่อไป

มาทำความรู้จัก...แผลเรื้อรัง

บาดแผลเรื้อรัง หรือแผลเรื้อรัง เป็นแผลที่หายยาก หรือหายช้ากว่าระยะเวลาที่ควรจะเป็น แผลอยู่ในภาวะมีการอักเสบ แต่ไม่มีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ สังเกตได้ง่ายๆ เป็นแผลไม่หายภายใน 4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่แผลจะหายภายในเวลานี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เกิดจากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ วัยกลางคน และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ซึ่งในปี 2563 กรมโรคไม่ติดต่อ รายงานว่าพบผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานในประเทศไทยถึง 5 ล้านคน

สาเหตุ...ที่พบบ่อยของแผลเรื้อรัง

  1. โรคเบาหวาน โดยพบมากที่สุดบริเวณเท้า เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้ปลายประสาทเสื่อม เกิดภาวะชาที่ปลายมือปลายเท้า เกิดแผลไม่รู้ตัว รู้อีกทีตอนแผลใหญ่มากแล้ว ทำให้รักษายาก หายช้า
  2. แผลกดทับ เป็นแผลที่เกิดจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ทำให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายแบบเฉพาะที่ และทำให้เกิดแผลขึ้นมา พบมาบริเวณ ปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น
  3. แผลจากอุบัติเหตุ เป็นแผลที่ได้รับการดูแลไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ทำให้เกิดแผลเรื้อรังตามมา
  4. แผลจากหลอดเลือดดำเสื่อม และหลอดเลือดแดงตีบตัน เกิดจากโรคหรือยาบางอย่าง ทำให้เลือดไม่เลี้ยงปลายมือปลายเท้า เกิดเป็นเนื้อตายสีดำ

วิธีการดูแลแผลเรื้อรัง

  1. การรักษาความสะอาดของแผล ควรทำความสะอาดแผลอย่างสม่ำเสมอ ด้วยล้างแผลด้วยน้ำสบู่ น้ำอุ่น หรือน้ำเกลือล้างแผล หลังจากนั้นซับแผลเบาๆ ด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง และหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำหรือโดนสิ่งสกปรก เพราะจะทำให้แผลเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
    *หมายเหตุ: หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลเด็ดขาด เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปทำลายโปรตีนในเนื้อเยื่อ
  2. ปิดแผลให้สนิท หลังจากทำความสะอาดแผล และเช็ดแผลให้แห้งแล้ว ควรทายายับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เช่น ตัวยามิวไพโรซิน (Mupirocin) หลังจากทายาฆ่าเชื้อแล้ว ให้ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลให้สนิท
  3. สังเกตอาการของแผลอยู่สม่ำเสมอ เพราะหากอาการปวด บวมแดง หรือมีหนอง ควรรีบพบแพทย์ทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน
  4. หมั่นเช็ก หรือตรวจร่างกายอยู่เสมอ ให้ทราบว่าตัวเองมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ เพื่อจะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ควรดูแลทั้งร่างกายควบคู่จิตใจ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผ่อนคลายจิตใจ ขจัดความเครียด 

แผลเรื้อรัง เป็นแผลที่เราควรระมัดระวัง และต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ หากปล่อยแผลทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ อาจจะเกิดความรุนแรงต่อแผลได้ ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากได้รับบาดเจ็บจากแผลแน่นอน ดังนั้นการดูแลรักษา สังเกตอาการตัวเองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเยียวยาบาดแผลให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งเป็นการป้องกันบาดแผลไม่ให้รุนแรงอีกด้วย

อ้างอิงจาก

  1. คำศัพท์แพทย์ศาสตร์. คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2564), จาก https://med.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/wound%20management.Jan_.%2031,2011.pdf
  2. กองโรคไม่ติดต่อ. กรมควบคุมโรค. (2564), จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php
  3. สยามรัฐออนไลน์. กรมควบคุมโรค. แผลเรื้อรัง ปล่อยไว้ยิ่งนานยิ่งอันตราย. (2564), จาก https://siamrath.co.th/n/62110

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด