บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

รู้ทัน 7 โรคอันตราย ที่แฝงตัวมากับฤดูหนาว

รู้ทัน-7-โรคอันตราย-1

ย่างเข้าฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ บางท่านเริ่มจะไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวกัน วันนี้สามัคคีเภสัชจะพาไปดู 7 โรคที่มาพร้อมฤดูหนาว จะได้ระมัดระวังกันไว้ค่ะ

1. โรคไข้หวัด
  • อาการ 
    มีไข้ต่ำ คัดจมูก มีน้ำมูกใส ทั้งไหลทางจมูกและไหลลงคอ จาม เจ็บคอ ไอ และน้ำตาไหลหรือตาบวมๆ ร่วมด้วย
  • การดูแลรักษา
    ไข้หวัดเกิดจากไวรัส ซึ่งร่างกายรักษาได้เอง แต่เราสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการบางอย่างได้ เช่น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ มีอาการไอให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ น้ำมูกไหลให้ทานยาลดน้ำมูก ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นสำหรับไข้หวัด หากน้ำมูกเริ่มข้นเหนียว และเปลี่ยนสีเป็นเหลืองใน 2-3 วัน เป็นอาการปกติ แต่หากไข้สูงขึ้นอาจพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะ และใช้ครบคอร์สตามที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำ
  • การป้องกัน
    ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง ทำร่างกายให้อบอุ่นสม่ำเสมอ สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อเข้าที่ชุมชน เพื่อป้องกันทั้งตัวท่านเองและผู้อื่น 
2. ไข้หวัดใหญ่
  • อาการ
    มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ 
  • การดูแลรักษา
    ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นไข้หวัดจะหายเอง หากภายใน 3 วัน อาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสม เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ 
  • การป้องกัน
    สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยง หรือไม่คลุกคลีกับผู้ที่มีอาการไข้หวัด และควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง
3. โรคปอดบวม หรือปวดอักเสบ
  • อาการ
    โรคปอดบวมเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอดหายใจหอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ มีไข้สูง บางครั้งไอปนเลือด
  • การดูแลรักษา
    ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะ และยาลดไข้ ซึ่งควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามซื้อยาแก้ไอ มารับประทานเองโดยเด็ดขาด 
  • การป้องกัน
    ดูแลสุขภาพให้ดี และแข็งแรง และสวมหน้ากากอนามัยเสมอ หากต้องเข้าไปในที่ชุมชนหนาแน่น โดยเฉพาะในสถานที่แคบหรืออากาศไม่ถ่ายเท
4. โรคหัด
  • อาการ
    มีไข้สูง มีน้ำมูก ไอ ตาแดง พบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โรคนี้มักพบในเด็ก
  • การดูแลรักษา
    พบแพทย์ และรักษาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด หากมีอาการไข้ สามารถรับประทานยาลดไข้ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • การป้องกัน
    ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหัดสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
5. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
  • อาการ
    ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำหลายครั้ง ปวดท้อง  แต่หากเด็กทารกท้องเสีย จะถือว่าเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิต
  • การดูแลรักษา
    เมื่อมีอาการท้องเสียให้จิบเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ หรือรับประทานยาบรรเทาอาการท้องเสีย ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะ ทำให้เก็บเชื้อโรคไว้ในลำไส้ และทำให้กำจัดเชื้อโรคได้ช้าลง
  • การป้องกัน
    รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ถูกสุขอนามัย รวมถึงดื่มน้ำสะอาด หมั่นล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำสม่ำเสมอ
6. โรคภูมิแพ้
  • อาการ
    มีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นมากขึ้นกว่าปกติ โดยอาการจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย 
  • การดูแลรักษา
    ใช้ยาเพื่อควบคุมอาการตามที่แพทย์หรือเภสัชกรร้านยาแนะนำอย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาแก้แพ้ และใครที่เป็นภูมิแพ้ ไม่ควรงด หรือลดการรับประทานยาในช่วงฤดูหนาว
  • การป้องกัน
    สวมใส่หน้ากากอนามัย ดูแลร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ รับประทานอาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
7. โรคอีสุกอีใส
  • อาการ
    เกิดจากเชื้อไวรัส มักเป็นได้บ่อยในวัยรุ่น เป็นไข้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และมีผื่นขึ้นเริ่มจากลำตัว ใบหน้า และลามไปแขนขา มักมีอาการคันร่วมด้วย  ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว และตกสะเก็ดในที่สุด สะเก็ดจะหลุดหายในเวลา 5-20 วัน
  • การดูแลรักษา
    ส่วนใหญ่อาการจะหายเอง หากมีไข้สูงสามารถรับประทานยาพาราเซทามอลได้ ไม่ควรใช้ยากลุ่มแอสไพรินเด็ดขาด แต่ตุ่มที่ผิวหนังมีความเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถปรึกษาการใช้ยาเพิ่มเติมได้ที่เภสัชกรร้านขายยาใกล้บ้าน
  • การป้องกัน
    หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใส และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

แหล่งอ้างอิง 
คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  (โรคอันตรายที่มากับฤดูหนาว

  

 

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด