อุบัติเหตุสามารถเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา ถ้าเราขาดความระมัดระวัง โดยอุบัติเหตุที่ใกล้ตัวและเจอกันบ่อย ๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ คือ “น้ำร้อนลวก” ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายชั้นผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อ และทำให้สูญเสียความมั่นใจจากรอยแผลที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงนำเสนอวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อโดนน้ำร้อนลวกอย่างถูกวิธี
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผลน้ำร้อนลวก เป็นแผลชนิดที่สามารถทำการรักษาได้เองที่บ้าน หรือ เป็นแผลที่รุนแรง?

แผลระดับที่หนึ่ง เป็นการไหม้บริเวณผิวหนังชั้นนอก (Epidermis)
แผลระดับนี้เป็นแผลที่ถูกทำร้ายไม่รุนแรง มักเกิดจากอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น สะเก็ดน้ำร้อนลวก ไอน้ำร้อนเฉียด ๆ ผิวเสียจากแดดหรือการอาบแดดมากเกินไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะอยู่ที่ชั้นผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น อาจมีเพียงแค่รอยแดงแสบร้อนแต่ไม่มีตุ่มน้ำพอง

แผลระดับที่สอง เป็นการไหม้ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis)
แผลระดับนี้ทำลายผิวหนังชั้นนอกและชั้นหนังแท้ จนเกิดความเสียหายเข้าไปถึงชั้นผิวหนังแท้ รวมถึงมีรอยสีชมพูหรือรอยกระดำกระด่างที่ผิว มีตุ่มน้ำพอง หากรอยแผลมีขนาดเล็กกว่า 7 เซนติเมตร คุณสามารถใช้การรักษาแบบแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกระดับที่ 1 ได้

แผลระดับที่สาม เป็นการไหม้ผิวหนังทุกชั้น
แผลระดับนี้ ทำลายผิวหนังทุกชั้น อาจรวมถึงกล้ามเนื้อและกระดูก ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยมีสัญญาณดังต่อไปนี้
- แผลนั้นเกิดจากสารเคมีและกระแสไฟฟ้า
- ผิวหนังในบริเวณหรือรอบ ๆ แผลเป็นสีขาวหรือไหม้เกรียม
- แผลไหม้พุพองที่มือ แขน เท้า ขา ใบหน้า หรืออวัยวะเพศ
- หากมีการสูดหายใจเอาควันเข้าไปจำนวนมากและมีอาการต่าง ๆ เช่น มีแผลไหม้บนใบหน้า ขนจมูกไหม้ ไอ หรือหายใจลำบาก
- เกิดกับเด็กเล็กและสตรีตั้งครรภ์
- แผลมีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือของคุณ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากเป็นแผลน้ำร้อนลวก (แผลระดับที่ 1)
- ทำให้เย็น : ก่อนอื่นให้ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่อยู่ใกล้กับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และทำให้บริเวณแผลเย็นลง อาจใช้น้ำแข็ง หรือหากหาน้ำแข็งไม่ได้ ให้เปิดน้ำก๊อกที่ไม่รู้สึกร้อนไหลผ่านแผล อย่างน้อย 10-20 นาที หากมีตุ่มน้ำพอง ระมัดระวังอย่าทำให้แตก กรณีแผลไหม้จากแสงแดดให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป
- รักษา : ทาเจล ครีม หรือโฟมที่ให้ความชุ่มชื้น และทายาเพื่อลดอาการอักเสบที่ผิวหนัง เช่น Bactex (แบคเท็กซ์) สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นแก่ผิว ช่วยให้รอยแผลสมานกันได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผิวที่โดนความร้อนทำลาย จะไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นของชั้นผิวไว้ได้ ทำให้ผิวสมานได้ยากขึ้นและติดเชื้อได้ง่าย ทำให้การรักษาความชุ่มชื้นในบริเวณแผลจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรปิดคลุมบริเวณแผลด้วยวัสดุปิดแผลหรือผ้าก๊อซเพื่อปกป้องผิวที่อ่อนแอ ทั้งนี้หากตุ่มน้ำพองแตกออก สามารถทายา Bactex (แบคเท็กซ์) เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผลได้อีกด้วย

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
แบคเท็กซ์ (Bactex)
ตัวยา Mupirocin ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เหมาะสำหรับรักษาแผลสด แผลมีดบาด แผลติดเชื้อ แผลมีหนอง แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก
แบคเท็กซ์ (Bactex) มีตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดการเกิดแผลแตกแห้งเป็นสะเก็ด สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์
- ดูแล : รักษาความสะอาดและทำให้บริเวณแผลมีความชุ่มชื้น เพื่อให้เกิดการสมานแผลได้ดี หากมีอาการปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวด โดยอาการปวดควรลดลงภายใน 2-3 วันเมื่อแผลดีขึ้นแล้ว