บ้านไหนมีเด็กที่อยู่ในวัยกำลังซน สนุกสนานกับการวิ่งเล่น ปืนปาย คงหนีไม่พ้นอุบัติเหตุที่มักอยู่คู่กันเสมอ ไม่ว่าจะเป็น หัวกระแทกกำแพง หัวโนหัวปูด หกล้มหัวเข่าถลอก ตกเตียงตกเก้าอี้ และอีกสารพัดสุดจะบรรยาย วิธีที่ดีที่สุดคือการเตรียมพร้อมรับมือหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น รวมถึงการเตรียมยาสามัญประจำบ้านให้พร้อม เพื่อรับมืออุบัติเหตุที่เกิดจากความซนของเจ้าตัวเล็ก รวมถึงอาการเจ็บป่วยต่างๆ
1. ยาทาแผลสด
วัยเด็กเป็นวัยของการเรียนรู้ มักได้แผลอยู่ตลอด สิ่งแรกที่ควรทำ คือทำความสะอาดแผล โดยใช้น้ำสะอาด น้ำเกลือหรือน้ำสบู่ล้างสิ่งสกปรกออกจากแผล จากนั้นทายาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ยาที่ใช้ควรมีฤทธิ์ในการป้องกันการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ตัวยา Mupirocin ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี ช่วยลดอาการอักเสบที่ผิวหนัง เช่น แบคเท็กซ์ (Bactex) สามารถเคลือบและป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผล ทำให้แผลหายไว ลดการเป็นรอยนูน สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จึงเป็นยาที่เราแนะนำ ควรมีไว้ประจำบ้านสำหรับทุกคนในครอบครัว

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
แบคเท็กซ์ (Bactex)
ตัวยา Mupirocin ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง เหมาะสำหรับรักษาแผลสด แผลมีดบาด แผลติดเชื้อ แผลมีหนอง แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก
แบคเท็กซ์ (Bactex) มีตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ลดการเกิดแผลแตกแห้งเป็นสะเก็ด สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
* หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาตามคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์

2. อุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้น
อุบัติเหตุจากเด็กๆ เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกที่ ไม้เว้นแต่ในบ้าน และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คืออุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้นนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เช่น
- น้ำสะอาดสำหรับล้างแผล ช่วยชะล้างสิ่งสกปรก ลดการติดเชื้อ ไม่เป็นบาดทะยัก
- สำลีหรือผ้าก๊อซสะอาด สำหรับเช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆ
- พลาสเตอร์ปิดแผลธรรมดาหรือแบบกันน้ำ เอาไว้ปิดไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่แผลของเด็กๆ หลังทำความสะอาดแผลเรียบร้อยแล้ว
- ผ้าพันแผลแบบยืด เมื่อเกิดอาการบวม เคล็ด หรือข้อพลิกต่างๆ ผ้าพันแผลแบบยืดนี้จะช่วยรัดไม่ให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งขยับได้ ลดอาการบวม อีกทั้งยังช่วยห้ามเลือดได้ด้วย

3. เจลประคบเย็น ร้อน
ศีรษะกระแทก เป็นหนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดบ่อยกับเด็ก เมื่อลูกศีรษะกระแทกอย่างแรง มีรอยแดง บวม ปูด ให้ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทำความสะอาดเมื่อโดนกระแทก ถ้าไม่มีแผลเปิด จึงใช้เจลประคบเย็น ประคบครั้งละประมาณ 2-5 นาที เป็นระยะๆ เพื่อทำให้เส้นเลือดหดตัว ลดอาการบวมแดง หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง ให้ประคบร้อน จะทำให้คลายอาการปวดบริเวณที่โดนกระแทก ลดการเกิดรอยฟกช้ำ และลดรอยบวมปูดได้

4. ยากันยุงสำหรับเด็ก
เป็นอีกหนึ่งยาประจำบ้านที่ควรมีไว้ เพราะยุงนำมาซึ่งไข้เลือดออก เมื่อเด็กวิ่งเล่นหรืออยู่ข้างนอกในเวลากลางคืน ควรมียาช่วยไล่ยุงสำหรับเด็ก ควรเป็นสารสกัดธรรมชาติ ผ่านการทดสอบการแพ้ และไม่มีสารออกฤทธิ์ฆ่ายุง เพราะเด็กอาจเผลอสัมผัส และเอาเข้าปาก ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายที่รุนแรง

5. ยาทา หรือขี้ผึ้ง หากโดนแมลงสัตว์กัดต่อย
อาจเป็นสมุนไพรสำหรับทารอยบวมคันจากการแพ้แมลง และยังใช้สูดดมได้ด้วย แต่หากแมลงกัดต่อยซึ่งมักมีพิษไม่ว่าจะอ่อนหรือแรง รอยแผลมักบวมนูนและเป็นรูตรงกลาง รอยแบบนี้ต้องล้างแผลให้ดีและพิษแมลงบางชนิดสามารถบรรเทาพิษได้ด้วยแอมโมเนียทาบางๆ จะช่วยลดอาการปวดได้ สุดท้ายทายาเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อได้

6. เกลือแร่ แก้ท้องเสีย
เกลือแร่แก้ท้องเสีย ควรมีไว้ติดบ้านอย่างยิ่ง เพราะเด็กๆ มักหยิบจับของเข้าปากเสมอ บางครั้งก็ทำให้ท้องเสียหรืออาเจียน วิธีชงเกลือแร่สำหรับท้องเสีย ให้ต้มน้ำให้เดือด ทิ้งให้เย็น แล้วละลายผงเกลือแร่ 1 ซองในน้ำครึ่งแก้ว จากนั้นค่อยๆ จิบทีละนิด ไม่ควรดื่มครั้งเดียวหมดเพราะจะทำให้อาการท้องเสียแย่กว่าเดิม ชงดื่มทุกครั้งที่ถ่ายท้อง แต่ถ้าอาการท้องเสียมีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระของลูก หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติหรือเหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า เป็นฟอง ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด

7. ยาแก้ท้องผูก
ท้องผูก เนื่องด้วยอุจจาระที่แข็งมากกว่าปกติ ทำให้เด็กๆ ขับถ่ายได้ยาก เด็กเล็กมักมีอาการงอแง เอามือลูบท้องตัวเอง ไม่อยากนั่งขับถ่าย บางครั้งเด็กเบ่งมากและมีเลือดสดปนมากับอุจจาระด้วย การปรับเปลี่ยนอาหารก็สามารถช่วยได้หรือปรึกษากุมารแพทย์ แต่ทั้งนี้อาจเริ่มโดยให้กินผักต้มสุกหรือผลไม้ที่มีกากใยที่ย่อยง่าย เช่น มะละกอบดหรือกล้วยน้ำว้าบดซึ่งทำให้อุจจาระนิ่มลง สารในมะละกอยังสามารถช่วยย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ดีอีกด้วย
8. ยาน้ำลดไข้
เด็กๆ มักออกไปวิ่งเล่นข้างนอก บางครั้งเล่นน้ำ โดนฝน หรือเล่นกับเพื่อนที่เป็นหวัดอยู่ ยาบรรเทาหวัดลดไข้สำหรับเด็กต้องปราศจากแอลกอฮอล์ ควรพาเด็กพบแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งต้องคำนวณขนาดยาที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ยาบรรเทาหวัดลดไข้ต้องอิงจากน้ำหนักตัวของเด็ก ขนาดยาที่เหมาะสมอาจแตกต่างกัน เด็กๆ อาจเลือกรสชาติที่อยากกินไม่ได้ เพราะรสชาติของยาน้ำมักแบ่งตามขนาดยาที่ต่างกันนั่นเอง
9. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
อาการเป็นหวัดของเด็กๆ ทำลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งยาแก้แพ้ มีทั้งชนิดน้ำเชื่อม และชนิดเม็ด
- ยาชนิดเม็ด เหมาะสำหรับเด็กที่กลืนยาเป็นแล้ว เป็นยาที่เมื่อเรามีอาการป่วยเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม มักจะรับประทานเพื่อบรรเทาอาการแพ้
- ยาชนิดน้ำ เป็นยาเหมาะสมสำหรับเด็กๆ ที่ยังกลืนยาแบบเม็ดไม่ได้ ก็คงจะเป็นยาชนิดน้ำเชื่อม ต้องปราศจากแอลกอฮอล์ และโดยทั่วไปจะมีวิธีใช้ระบุที่ข้างขวดอยู่เสมอ เพื่อให้รับประทานได้อย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง
ทั้งหมดนี้เป็นยาสามัญที่ควรมีติดบ้านอย่างยิ่ง เป็นผลดีต่อเด็ก ๆ และคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองเองด้วย อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมรับมือความซนของเด็กๆ อยู่เสมอ สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเสมอก่อนการใช้ยาควรอ่านฉลากยาหรือเอกสารกำกับยาให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ควรวินิจฉัยเองเพราะความผิดปกติเพียงเล็กน้อยของเด็กๆ อาจซุกซ่อนโรคสำคัญบางอย่างไว้ การพบแพทย์จะทำให้วินิจฉัยได้ถูกต้อง