เข้าฤดูหนาวแล้ว แต่ก็ไม่หนาวเลยซะทีเดียว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เชื้อโรค แบคทีเรีย เจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นการรับประทานอาหารอะไรเข้าไปต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เราต้องรู้ทันสิ่งเหล่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องเสีย
อาการเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย
อาหารคือส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย ดังนั้นการเลือกรับประทานจึงสำคัญ
ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้
- อาหารสด สุก ๆ ดิบ ๆ หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ
- อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือเค็มจัด
- อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง ที่พบว่ามีรอยบุบ รอยรั่ว หรือขึ้นสนิม
- อาหารที่ผลิตหรือปรุงไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ใช้เขียงหั่นเนื้อสัตว์สดกับผักลวกร่วมกัน
- อาหารที่มีแมลงวันตอม
- อาหารที่ปรุงสุกตั้งแต่เช้า โดยไม่มีการอุ่นร้อน หรืออาหารข้ามคืน
- อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมแล้วปรุงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง
- น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน
พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย
นอกจากอาหารแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรายังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
ด้วยเช่นเดียวกัน
- หยิบจับอาหารด้วยมือเปล่า ที่ไม่ได้ทำความสะอาดก่อนหยิบอาหารเข้าปาก
- ใช้ตะเกียบคีบของดิบ และใช้คีบอาหารร่วมกัน
- ไม่ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนปรุงอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงหลังจากเข้าห้องน้ำ

รู้ได้อย่างไร เมื่อมีอาการท้องเสีย
- มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
- ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ
- ขับถ่ายพบเยื่อมูกหรือเลือดปน
- คลื่นไส้ แน่นท้อง ปวดท้องบิด
- คอแห้งหิวน้ำบ่อย
- หน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- เป็นไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
วิธีการดูแลตัวเอง เมื่อเกิดอาการท้องเสีย
ปกติแล้วอาการท้องเสียสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง แต่ควรรักษาตามอาการ ดังนี้
- เมื่อมีอาการขาดน้ำ ควรดื่มน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อลดอาการอ่อนเพลีย จากการสูญเสียน้ำในร่างกาย
- งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดองต่างๆ ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด เช็กเลย!
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำกิจกรรมหนักๆ เช่น การออกกำลังกาย
- ไม่ควรรับประทานยาหยุดถ่ายเด็ดขาด เพราะจะทำให้ของเสีย หรือเชื้อโรคจะยังคงสะสมอยู่ในลำไส้
- รับประทานยาบรรเทาอาการท้องเสีย เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ดี ลดการถ่ายเหลว และลดอาการปวดท้อง ซึ่งมีให้เลือกหลายชนิด ทั้งแบบแคปซูล และยาน้ำแขวนตะกอน

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
เออร์ฟูไซด์ (Erfuzide)
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของการท้องเสีย มีทั้งแบบน้ำแขวนตะกอนและแบบแคปซูล (ห้ามใช้ในผู้แพ้ยากลุ่ม Nifuroxazide)
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติม ยาแก้ท้องเสียมีกี่ประเภท เลือกใช้ตามอาการอย่างไรให้ถูกวิธี คลิก!
เมื่อรักษาตามที่กล่าวมาข้างต้น แล้วอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที
ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เรา เกิดท้องเสียได้ ซึ่งทำให้เสียพลังไปไม่น้อย เราคงไม่อยากเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ ใช่ไหมล่ะ ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงและหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ กันดีกว่า