บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

ยาแก้ท้องเสียมีกี่ประเภท เลือกใช้ตามอาการ

Content 6-01

เมื่อเราเกิดอาการท้องเสีย เรามักวิ่งเข้าวิ่งออกห้องน้ำกันว่าเล่น โดยอาการที่พบบ่อยคือ ถ่ายเหลว บางคนก็มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย ทำให้คนที่ท้องเสียรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียอย่างมาก เราจะต้องทำยังไงดี กลัวจะเป็นหนักกว่าเดิม วันนี้เราได้รวบรวมยาแก้ท้องเสียว่ามีอะไรบ้าง กินยาประเภทไหนถึงหาย รักษาได้ตรงจุด ลองไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

1. เกลือแร่สำหรับท้องเสีย

เป็นสารอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียที่แนะนำเมื่อร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง อาเจียน และคลื่นไส้มากจนกินอาหารไม่ได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำไปมาก ทำให้ร่างกายขาดน้ำ สังเกตได้จากการหิวน้ำ ปากแห้ง ตาโบ๋ กระวนกระวาย ซึม หน้ามืด เกิดภาวะช็อค หากแก้ไขไม่ทันทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ เกลือแร่อาจไม่ใช่ยาที่แก้อาการท้องเสียที่ต้นเหตุ แต่เป็นข้อแนะนำที่สำคัญ เพราะช่วยรักษาสารน้ำในร่างกายให้ระบบไหลเวียนสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะสำคัญได้ ซึ่งช่วยลดการเกิดไตวายเฉียบพลัน และการนอนโรงพยาบาลได้
 

2. ยาฆ่าเชื้อ

ยาฆ่าเชื้อเป็นยาสำหรับกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหมายรวมถึงเชื้อที่เป็นสาเหตุของท้องเสียด้วย ยาฆ่าเชื้อมีลักษณะการออกฤทธิ์ 2 รูปแบบ แบบแรกคือตัวยาดูดซึมสู่กระแสเลือดและแพร่ไปทั่วร่างกายเพื่อฆ่าเชื้อ กับแบบที่สอง ตัวยาไม่ดูดซึม สามารถฆ่าเชื้อในลำไส้ได้ทันที ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงมากกว่า ไวกว่า และไม่ส่งผลต่อระบบอื่นในร่างกาย มีทั้งรูปแบบแคปซูล และยาน้ำแขวนตะกอน ทั้งนี้ยังช่วยลดการถ่ายเหลวและทำให้อาการปวดท้องดีขึ้น เป็นยาที่ควรพกติดตัวไปด้วยทุกที่ ทุกโอกาส เพราะสามารถใช้รับประทานได้ทันทีเมื่อเริ่มมีอาการท้องเสีย หรือแม้แต่กำลังท้องเสียอยู่ก็ตาม ยาฆ่าเชื้อนี้คุณสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น Erfuzide (เออร์ฟูไซด์)

เกร็ดน่ารู้ ข้อมูลยา
เออร์ฟูไซด์ (Erfuzide)

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของการท้องเสีย มีทั้งแบบน้ำแขวนตะกอนและแบบแคปซูล (ห้ามใช้ในผู้แพ้ยากลุ่ม Nifuroxazide)

3. ยาหยุดถ่าย

ยาหยุดถ่าย ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ลดจำนวนการถ่าย ซึ่งแน่นอนว่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกายไม่ถูกกำจัดออกไป มีโอกาสสูงที่แบคทีเรียจะแทรกซึมเข้าทำร้ายลำไส้และเข้าสู่กระแสเลือด อันนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ซึ่งเป็นสาเหตุลำดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตจากสาเหตุท้องเสีย ดังนั้นการซื้อยาหยุดถ่ายมารับประทานเองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้าน
 

4. ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ (ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ) ด้วยกลไกการทำงานใน 2 ลักษณะดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น (ย้อนกลับไปอ่านได้อีกครั้งที่หัวข้อที่ 2) ซึ่งกลไกแรกที่กล่าวไปนั้น ตัวยาดูดซึมและแพร่ไปทั่วร่างกายเพื่อฆ่าเชื้อ ถ้าหากรับประทานยาถูกต้องตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ (รับประทานครบโดส) ตัวยาจะทำงานได้ถูกต้อง สามารถฆ่าเชื้อได้ถูกจุด ถูกตัว แต่ถ้าหากรับประทานยาผิดเพี้ยนไปจากที่แนะนำ ยาที่ร่างกายได้รับจะเข้าทำงานไม่ถูกจุด อาจทำให้หายท้องเสียก็จริง แต่ยาอาจทำร้ายระบบอื่นด้วย เช่น ทำให้เป็นตกขาว เป็นหวัดบ่อย หรือภูมิแพ้กำเริบ แย่สุดคือเกิดเชื้อดื้อยาในร่างกาย ทั้งนี้อ่านดูแล้วอาจน่ากลัว แต่หากท่านผู้อ่านรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างมีวินัย จะช่วยลดโอกาสการเกิดสิ่งไม่ดีดังกล่าวได้แน่นอน  
 

5. ยากลุ่ม Probiotic

ยากลุ่ม Probiotic : คือเชื้อจุลินทรีย์ที่ดี ช่วยสร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้มีเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคอื่นเข้าทำร้าย การเกิดสมดุลของจุลินทรีย์สามารถลดการเกิดภาวะท้องเสียง่ายได้ด้วย ท่านผู้อ่านอาจเคยได้ยินมาว่าบางคนรับประทานอย่างหนักหน่วงก็ไม่มีอาการท้องเสียแสดงให้เห็น ไม่แม้แต่ปวดท้อง   จะถูกเรียกว่าเป็นคนธาตุหนัก บางคนรับประทานอะไรนิดหน่อยก็ท้องเสียท้องเดิน จะถูกเรียกว่า คนธาตุเบา สำหรับผู้ที่ธาตุเบา การรับประทาน Probiotic จะปรับสมดุลจุลินทรีย์ และช่วยให้เป็นคนธาตุหนักขึ้นได้ ทั้งนี้ผลการทำงานของ Probiotic เป็นไปในเชิงการป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดท้องเสีย การรับประทาน Probiotic เมื่อกำลังท้องเสียอาจจะเห็นผลหรือไม่เห็นผลก็ได้

6. สารดูดซับ หรือผงถ่าน

ผงถ่านมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีดำ มีความพรุน สามารถดูดซับหรืออุ้มของเหลวได้ดี ไม่ดูดซึม สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้โดยผงถ่านจะเข้าไปดูดซับของเหลวในลำไส้ ทำให้เป็นก้อน และขับถ่ายออกมาในที่สุด ช่วยลดการถ่ายเหลวและบรรเทาอาการปวดท้องได้ ดังนั้น เมื่อเริ่มรู้สึกปวดท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน เหมือนท้องจะเสียเป็นแน่ และฟันธงว่าผู้ร้ายในครั้งนี้คือมื้ออาหารที่รับประทานไปไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้า สามารถรับประทานผงถ่านเพื่อให้เข้าไปอุ้มอาหารนั้นไว้ ไม่ให้ร่างกายย่อย ดูดซึม และขับถ่ายออกไปในที่สุด ทั้งนี้ควรมั่นใจว่าเป็นผู้ที่ปกติแล้วขับถ่ายปกติ ไม่ท้องผูก หรือมีภาวะลำไส้อุดตัน เพราะการดูดซับของผงถ่านจนเป็นก้อน อาจทำให้อาการดังกล่าวแย่ลงได้

หากท่านผู้อ่านสงสัยว่าเริ่มท้องเสียแล้ว คือมีการถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งภายใน 1 วัน สามารถดูแลตัวเองได้โดยเริ่มจากใช้สารดูดซับหรือผงถ่าน การรับประทาน Probiotic เป็นประจำ และการใช้เกลือแร่ชดเชยสารน้ำที่สูญเสีย แต่ถ้าหากสุดท้ายแล้วรับประทาน ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะแล้วอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน  3-5 วัน หรือถ่ายเป็นมูกเลือด หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำซาวข้าวหรือเหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า รู้สึกไม่สบายตัว ตัวรุมมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ปัสสาวะน้อยลง สีเหลืองเข้ม เวียนหัว หน้ามืด หรือท้องเสียมากขึ้นหรือเป็นน้ำใส ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เราควรดูแลสุขภาพการกินให้ดี โดยเริ่มต้นจากการรับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุก สะอาด ถูกหลักอนามัย

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผ่าน LINE คลิกที่นี่!

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด

บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด